ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บรรยากาศการเรียนการสอน
          วันนี้ได้ย้ายอาคารเรียนมาเรียนที่อาคาร 4 อาคารของคณะศึกษาศาสตร์ ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นไปได้ด้วยดี เป็นเพราะอาคารที่เราคุ้นเคย ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นั่งแบ่งกลุ่มกันตามหน่วยที่เราได้ เพื่อทำงานเป็นกันกลุ่ม อาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องตรงเวลา การเรียนการสอนเป็นกันเอง และได้รับความรู้อย่างเต็มที่

กิจกรรมการเรียนการสอน
          วันนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มซึ่งได้แบ่งกลุ่มมาตั้งแต่ต้นแล้วในหน่วยของผลไม้ หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยกล้วย และหน่วยยานพาหนะ ซึ่งวันนี้เป็นการสรุปกิจกรรมทั้งหมดที่เราได้ทำและคิดแผนจัดประสบการณ์ขึ้นมา นั่นคือการทำผังการจัดประสบการณ์ทั้ง 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา รวมไปถึงการเขียนพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมถึงเพื่อประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอีกด้วย และอาจารย์ได้เสริมในเรื่องของการจัดประสบการณ์ของแต่ละหน่วย เช่น หน่วยของเล่นของใช้ก็จะมีแนวคิดว่า "ของเล่นและของใช้เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เป็นสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ของเล่นมีไว้เล่นสมมติจากของจริงหรือเล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ส่วนของใช้มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน" จากนั้นอาจารย์ได้เสริมอีกเกี่ยวกับตัวอย่างประสบการณ์เพื่อความเข้าใจของนักศึกษา
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- กล้ามเนื้อ
- การเจริญเติบโต
           - การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ กับตา
ด้านอารมณ์ จิตใจ
          - การแสดงออกทางความรู้สึก
          - การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
ด้านสังคม
          - การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
          - การรู้จักตนเอง
          - การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
          - การคิด (คิดเชิงเหตุผล , คิดวิเคราะห์ , การคิดสร้างสรรค์)
          - การแก้ปัญหา
          - ภาษา
กระบวนทางสติปัญญานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ด้านภาษา,การคิด และด้านศิลปะสร้างสรรค์
     - ภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน)
     - ศิลปะ (วาดภาพ ระบายสี ปั้น ปะติด ประดิษฐ์ ฯลฯ)


ทักษะที่ได้รับจากการเรียนรู้
          1. ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
          2. ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
          3. ทักษะการฟัง
          4. ทักษะการแสดงความเห็น
          5. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่ม

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสรุปหน่วยการสอนในหน่วยต่างๆ ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง รวมไปถึงได้รับความรู้ในเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและใยการสอนกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จัดประสบณ์การให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง และยังได้รู้ถึงแผนการสอนหน่วยอื่นๆ ของเพื่อนต่างกลุ่มอีกด้วยทำให้เราได้รู้หน่วยการสอนเพิ่มเติม สามารถในไปประยุกต์ใช้เป็นการสอนของเราในอนาคตได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์ใช้การสอนแบบตอบคำถาม ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมก่อนที่จะเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง อาจารย์จะถามคำถามความรู้ที่เราต้องใช้ในอนาคตอยู่เสมอเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาได้ดีมาก
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีความเป็นกันเอง และมีความตั้งใจในการสอน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษา รวมไปถึงการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการสอนอยู่เสมอ



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บรรยากาศการเรียน 
          ในวันนี้อาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องเรียนตรงเวลา และคุยกันสบายๆ ก่อนเข้าเนื้อหาการเรียนการสอน บรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง ร่วมกันพูดคุยก่อนที่จะเรียน รู้สึกไม่อึดอัด

การเรียนการสอน
          1. การนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม
เป็นการนำเสนอของแต่ละหน่วย ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยผลไม้ และหน่วยยานพาหนะ ซึ่งในวันนี้จะนำเสนอกิจกรรมแผนการจัดประสบการณ์ในวันพุธ และวันพฤหัสบดี คือการดูแลรักษา และประโยชน์ของหน่วยนั้นๆ โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบของนิทานที่มีความสอดคล้องกับคณิตศาสตร์
การนำเสนอกลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
(เรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด)
           นำเสนอด้วยรูปเล่มขนาดใหญ่ สามารถใช้เล่านิทานสำหรับเด็กกลุ่มใหญ่ๆ ได้ โดยเนื้อหาของนิทานจะเป็นการบอกประโยชน์ของต้นกล้วย ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ก้านกล้วย ใบตอง ผล ซึ่งจะอธิบายว่าส่วนประกอบแต่ละอย่างของกล้วยนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เช่น ก้านกล้วยก็นำไปประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วย เป็นต้น โดยสอดคล้องกับคณิตศาสตร์คือ เรื่องของจำนวน เรื่องมุม เรื่ององสา เรื่องเรขาคณิต

การนำเสนอกลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้
(เรื่อง หนูจินสอนเพื่อน)
นำเสนอด้วยกระดาษขนาดใหญ่ สามารถใช้เล่านิทานให้เด็กกลุ่มใหญ่ๆ ฟังได้ โดยเนื้อหาของนิทานจะเป็นการสอนเรื่องประโยชน์ของของเล่นและของใช้ โดยการแต่งเป็นคำกลอนคล้องจอง ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยในนิทานจะมีหนูจินเป็นคนดำเนินเรื่องและบอกถึงประโยชน์ของเล่นและของใช้โดยสรุปได้ว่าของเล่นนั้นมีไว้ใช้เล่นสมมติ เลียนแบบเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนของใช้นั้นคือของที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยสอดแทรกคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่ เช่น กางเกงคู่กับเสื้อ ช้อนคู่กับซ้อม ถุงเท้าต้องใส่เป็นคู่ เป็นต้น

การนำเสนอกลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
(เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้)

           นำเสนอด้วยกระดาษแผ่นเล็กน่ารัก เนื้อหาในนิทานเล่าถึงประโยชน์ของผลไม้ชนิดต่างๆ  โดยใช้เทคนิคคำคล้องจองเป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจ ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดก็จะมีประโยชน์และลักษณะรูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยเพื่อนๆ ได้นำเสนอออกมาดีมาก และสอดคล้องกับคณิตศาสตร์ในเรื่องของขนาด รูปร่าง รูปทรง รวมไปถึงเรื่องของจำนวนด้วย

การนำเสนอกลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ
(เรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ)

           นำเสนอในรูปแบบของหนังสือนิทานเล่มเล็กน่ารัก โดยเนื้อหาของกลุ่มนี้จะบอกถึงการดูแลรักษายานพาหนะโดยใช้หมีน้อยเป็นตัวดำเนินเรื่อง มีเนื้อเกี่ยวกับการจะออกเดินทาง ก่อนออกเดินทางนั้นจะต้องมีการตรวจสอบสภาพยานพาหนะให้ดีก่อน เช่น ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ ตรวจสอบน้ำมัน เป็นต้น และเมื่อยานพาหนะมีความสกปรกเราก็มีการทำความสะอาด เพื่อที่จะใช้ได้นานๆ และดูใหม่อยู่เสมอ โดยนิทานเรื่องนี้จะสอดคล้องกับคณิตศาสตร์คือเรื่องของทิศทาง ตำแหน่งที่ตั้ง 
          จากนั้นอาจารย์ก็ได้สรุปและให้คำแนะนำเกี่ยวกับนิทานของแต่ละกลุ่มพร้อมกับบอกวิธีการแก้ไขให้มีความสวยงามและมีประโยชน์มากขึ้น และให้แต่ละกลุ่มลงมือทำนิทานที่เตรียมมาให้เสร็จและส่งสัปดาห์ถัดไป

ทักษะที่ได้รับจากการเรียนรู้
         1. ทักษะการสรุปข้อมูลจากการฟัง
         2.  ทักษะการออกแบบหนังสือนิทาน
         3. ทักษะการประยุกต์ใช้กับวิชาคณิตศาสตร์
         4. ทักษะการนำเสนอผลงานกลุ่ม

ความรู้ที่ได้รับและการไปประยุกต์ใช้
         ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ในส่วนที่เราทำผิดพลาดและส่วนที่ต้องเพิ่มเติม รวมไปถึงวิธีการนำเสนอนิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่มซึ่งมีความหลากหลาย ทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์เป็นผลงานของเรา โดยการนำความรู้ต่างๆ ที่เราได้เรียนมาในวิชาต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การแต่งนิทาน การเขียน การจัดเรียง เป็นต้น ทำให้เราสามารถสร้างงานของเราที่มีคุณภาพได้ถ้าเราตั้งใจและใส่ใจในการทำงานแต่ละงาน 
เทคนิคการสอนของอาจารย์ 
         อาจารย์สอนด้วยวิธีการสบายๆ ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นทำให้ไม่น่าเบื่อ พร้อมยังบอกวิธีทำสิ่งต่างๆ ที่เราทำผิดและบอกแนวทางการแก้ไขให้เราด้วย
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
         อาจารย์มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา นักศึกษาสามารถถามคำถามที่ไม่เข้าใจได้โดยอาจารย์จะตอบให้นักศึกษาได้ประโยชน์และความรู้มากที่สุด อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและให้ความสำคัญกับนักศึกษาเป็นที่หนึ่งเพราะอยากให้นักศึกษาได้รับความรู้มากที่สุด 


วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.
บรรยากาศการเรียนการสอน 
          ในวันนี้อาจารย์ และนักศึกษามาเข้าห้องเรียนตรงเวลา การเรียนการสอนในวันนี้เป็นไปด้วยความสบายเพราะเป็นการสอนแผนที่เราได้คิดมากลุ่มละ 5 คน เริ่มจากกลุ่มยานพาหนะ , ของเล่นของใช้ , ผลไม้ และกล้วย

การเรียนการสอน
          - การนำเสนอการสอนในแต่ละหน่วยของวันจันทร์และวันอังคาร 
กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ
          สอนในเรื่องของประเภทของยานพาหนะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ยานพาหนะทางบก ยานพาหนะทางน้ำ และยานพาหนะทางอากาศ โดยเพื่อนกลุ่มนี้เริ่มต้นขั้นสอนด้วย คำถาม ถึงประสบการณ์เดิมหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะที่เด็กๆ เคยใช้ ต่อด้วยขั้นสอนคือ ให้เด็กๆ แยกประเภทของยานพาหนะว่าแต่ละชนิดอยู่ในยานพาหนะประเภทใด โดยให้เด็กแต่ละคนออกไปติดรุปยานพาหนะว่าแต่ละชนิดนั้น อยู่ในประเภทใด และสรุปโดยการพูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับประเภทของยานพาหนะ
          โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการสอนครั้งนี้ว่า การสอนเด็กนั้นเราจะต้องไปทีละขั้นไปควรมองข้ามจุดเล็กๆ เช่นจะมาถามเด็กเลยไม่ได้ว่ายานพาหนะมีกี่ประเภท ควรเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ไปหายาก และการเชื่อมโยงกับคณิตศาสร์ ในเรื่องของจำนวนยานพาหนะ เช่นการนับว่ายานพาหนะทางบกมีจำนวนเท่าใด ยานพาหนะทางน้ำมีจำนวนเท่าใด ยานพาหนะทางอากาศมีจำนวนเท่าใดแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นกับของใช้
          สอนเรื่องประเภทของเล่นและของใช้ โดยเริ่มจากการเข้ากิจกรรมโดยเพลง และนำของเล่นและของใช้ปะปนกับไว้ นำออกมาทีละชิ้นและถามเด็กๆว่านี่คือของเล่นหรือของใช้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กแยกประเภท ระหว่างของเล่นและของใช้ได้ จากนั้นเป็นการให้เด็กแต่ละคนบอกวิธีการใช้ของเล่นกับของใช้ที่ตนเองเคยเล่น ขั้นสรุป เป็นการทบทวนประเภทของเล่นกับของใช้
          โดยอาจารยืได้แนะนำว่า การที่เราจะมาบอกเด็กว่าสิ่งใดเป็นของเล่นหรือของใช้นั้น เราต้องบอกความหมายที่ชัดเจนให้กับเด็กก่อนว่านิยามคำว่าของเล่น คืออะไร และของใช้คืออะไร โดยของใช้คือวิ่งที่เอาไว้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กแยกออกว่าสิ่งไหนคือของเล่นสิ่งไหนคือของใช้ รวมไปถึงเรื่องของการใช้ภาชนะในการมาสอนไม่ควรเป็นถุง ควรเป็นอะไรที่ทำให้เด็กตื่นเต้น หรือให้สอดคล้องกับหน่วยที่เด็กเรียน
กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
          เริ่มต้นการสอนโดยการพูดคุย ตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่ารู้จักหรือเคยรับประทานผลไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นก็ให้เด็กแต่ละคนได้ชิมผลไม้ชนิดต่างๆ ที่ครูเตรียมมา เพื่อให้เด็กๆ รู้ถึงรสชาติของผลไม้แต่ละชนิด รวมไปถึงให้เด็กๆ ได้รู้ถึงส่วนประกอบ สี ขนาดอีกด้วย จากนั้นถึงขั้นสรุปได้ให้เด็กๆ ช่วยกันตอบคำถามเรื่องของผลไม้ชนิดต่างๆ ว่ามีสีอะไร รูปร่างอย่างไร ขนาดเท่าใด มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีรสชาติเป็นอย่างไร แล้วสรุปเป็นภาพให้เด็กได้เห็นได้เรียนรู้เรื่องของภาษาด้วย
          โดยอาจารย์ได้แนะนำว่าถ้าเราไปสอนเด็กจริงๆ การที่เราให้เด็กชิมผลไม้ หรือชิมอะไรก็ตามไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นแล้วจะมารุมอยู่ที่ครู และไม่จำเป็นต้องนำผลไม้จริงมาทุกครั้ง เพราะจะลำบากครูเอง ควรดูความเหมาะสมของสถานการณ์ในการสอนด้วย
กลุ่มที่ 4 หน่วยกล้วย
          เริ่มต้นการสอนด้วยเพลงกล้วย แล้วครูได้นำกล้วยไข่ และกล้วยหอมมาให้เด็กดู เพื่อเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของกล้วยแต่ละชนิดทั้งรูปร่าง ขนาด สี รวมไปถึงรสชาติด้วย จากนั้นก็สอนเรื่องความแตกต่างของกล้วยทั้งสองชนิดนี้ และสรุปด้วยไดอะแกรม
โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่าถ้าเรายังไม่มั่นใจอะไร เช่นเรื่องสีของกล้วยที่อาจจะไม่เหมือนกันทุกลูกก็ไม่ควรนำมาถามเด็ก เป็นต้น
ทักษะที่ได้รับ
          1. ทักษะการฟัง
          2. ทักษะการสรุปข้อมูลจากการฟัง
          3. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
          4. ทักษะการสอน

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
          ได้รับความรู้ในการสอนแต่ละหน่วยที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งคำแนะนำเพิ่มเติมของอาจารย์ที่บอกเราทำให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น และสอนการใช้ประโยชน์จากสื่อที่เราเตรียมมาได้มากขึ้น อย่าปล่อยให้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ หลุดไป เราต้องนำมาสอนเด็กอย่างละเอียดเพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นการเรียนรู้ครั้งแรก เราควรให้ความรู้กับเด็กมากที่สุดตามการเรียนรู้และตามพัฒนาการของเด็ก ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปปรับปรุงและเพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังขาดและใช้สอนเด็กต่อไปอย่างมีคุณภาพและทำให้เด็กได้รับความรู้ให้มากที่สุด

เทคนิคการสอนของอาจารย์
          อาจารย์มีวิธีการสอนที่ให้เด็กได้นำเสนอจริงโดยให้คำแนะนำอยู่ตลอด หากนักศึกษามีข้อผิดพลาดอาจารย์ก็จะบอกและให้คำแนะนำ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ แต่อาจารย์ไม่ชอบให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นเพราะอาจารย์เห็นว่าสิ่งที่อาจารย์บอกเป็นเรื่องที่ดีกว่า เราจึงควรเชื่อฟังอาจารย์ อาจารย์เตรียมกิจกรรมการสอนมาเป็นอย่างดี และปล่อยนักศึกษาตรงเวลา