บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ในวันนี้อาจารย์ และนักศึกษามาเข้าห้องเรียนตรงเวลา การเรียนการสอนในวันนี้เป็นไปด้วยความสบายเพราะเป็นการสอนแผนที่เราได้คิดมากลุ่มละ 5 คน เริ่มจากกลุ่มยานพาหนะ , ของเล่นของใช้ , ผลไม้ และกล้วย
การเรียนการสอน
- การนำเสนอการสอนในแต่ละหน่วยของวันจันทร์และวันอังคาร
กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ
สอนในเรื่องของประเภทของยานพาหนะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ยานพาหนะทางบก ยานพาหนะทางน้ำ และยานพาหนะทางอากาศ โดยเพื่อนกลุ่มนี้เริ่มต้นขั้นสอนด้วย คำถาม ถึงประสบการณ์เดิมหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะที่เด็กๆ เคยใช้ ต่อด้วยขั้นสอนคือ ให้เด็กๆ แยกประเภทของยานพาหนะว่าแต่ละชนิดอยู่ในยานพาหนะประเภทใด โดยให้เด็กแต่ละคนออกไปติดรุปยานพาหนะว่าแต่ละชนิดนั้น อยู่ในประเภทใด และสรุปโดยการพูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับประเภทของยานพาหนะ
โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการสอนครั้งนี้ว่า การสอนเด็กนั้นเราจะต้องไปทีละขั้นไปควรมองข้ามจุดเล็กๆ เช่นจะมาถามเด็กเลยไม่ได้ว่ายานพาหนะมีกี่ประเภท ควรเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ไปหายาก และการเชื่อมโยงกับคณิตศาสร์ ในเรื่องของจำนวนยานพาหนะ เช่นการนับว่ายานพาหนะทางบกมีจำนวนเท่าใด ยานพาหนะทางน้ำมีจำนวนเท่าใด ยานพาหนะทางอากาศมีจำนวนเท่าใดแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นกับของใช้
สอนเรื่องประเภทของเล่นและของใช้ โดยเริ่มจากการเข้ากิจกรรมโดยเพลง และนำของเล่นและของใช้ปะปนกับไว้ นำออกมาทีละชิ้นและถามเด็กๆว่านี่คือของเล่นหรือของใช้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กแยกประเภท ระหว่างของเล่นและของใช้ได้ จากนั้นเป็นการให้เด็กแต่ละคนบอกวิธีการใช้ของเล่นกับของใช้ที่ตนเองเคยเล่น ขั้นสรุป เป็นการทบทวนประเภทของเล่นกับของใช้
โดยอาจารยืได้แนะนำว่า การที่เราจะมาบอกเด็กว่าสิ่งใดเป็นของเล่นหรือของใช้นั้น เราต้องบอกความหมายที่ชัดเจนให้กับเด็กก่อนว่านิยามคำว่าของเล่น คืออะไร และของใช้คืออะไร โดยของใช้คือวิ่งที่เอาไว้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กแยกออกว่าสิ่งไหนคือของเล่นสิ่งไหนคือของใช้ รวมไปถึงเรื่องของการใช้ภาชนะในการมาสอนไม่ควรเป็นถุง ควรเป็นอะไรที่ทำให้เด็กตื่นเต้น หรือให้สอดคล้องกับหน่วยที่เด็กเรียน
กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
เริ่มต้นการสอนโดยการพูดคุย ตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่ารู้จักหรือเคยรับประทานผลไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นก็ให้เด็กแต่ละคนได้ชิมผลไม้ชนิดต่างๆ ที่ครูเตรียมมา เพื่อให้เด็กๆ รู้ถึงรสชาติของผลไม้แต่ละชนิด รวมไปถึงให้เด็กๆ ได้รู้ถึงส่วนประกอบ สี ขนาดอีกด้วย จากนั้นถึงขั้นสรุปได้ให้เด็กๆ ช่วยกันตอบคำถามเรื่องของผลไม้ชนิดต่างๆ ว่ามีสีอะไร รูปร่างอย่างไร ขนาดเท่าใด มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีรสชาติเป็นอย่างไร แล้วสรุปเป็นภาพให้เด็กได้เห็นได้เรียนรู้เรื่องของภาษาด้วย
โดยอาจารย์ได้แนะนำว่าถ้าเราไปสอนเด็กจริงๆ การที่เราให้เด็กชิมผลไม้ หรือชิมอะไรก็ตามไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นแล้วจะมารุมอยู่ที่ครู และไม่จำเป็นต้องนำผลไม้จริงมาทุกครั้ง เพราะจะลำบากครูเอง ควรดูความเหมาะสมของสถานการณ์ในการสอนด้วย
กลุ่มที่ 4 หน่วยกล้วย
เริ่มต้นการสอนด้วยเพลงกล้วย แล้วครูได้นำกล้วยไข่ และกล้วยหอมมาให้เด็กดู เพื่อเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของกล้วยแต่ละชนิดทั้งรูปร่าง ขนาด สี รวมไปถึงรสชาติด้วย จากนั้นก็สอนเรื่องความแตกต่างของกล้วยทั้งสองชนิดนี้ และสรุปด้วยไดอะแกรม
โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่าถ้าเรายังไม่มั่นใจอะไร เช่นเรื่องสีของกล้วยที่อาจจะไม่เหมือนกันทุกลูกก็ไม่ควรนำมาถามเด็ก เป็นต้น
ทักษะที่ได้รับ
1. ทักษะการฟัง
2. ทักษะการสรุปข้อมูลจากการฟัง
3. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
4. ทักษะการสอน
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
ได้รับความรู้ในการสอนแต่ละหน่วยที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งคำแนะนำเพิ่มเติมของอาจารย์ที่บอกเราทำให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น และสอนการใช้ประโยชน์จากสื่อที่เราเตรียมมาได้มากขึ้น อย่าปล่อยให้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ หลุดไป เราต้องนำมาสอนเด็กอย่างละเอียดเพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นการเรียนรู้ครั้งแรก เราควรให้ความรู้กับเด็กมากที่สุดตามการเรียนรู้และตามพัฒนาการของเด็ก ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปปรับปรุงและเพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังขาดและใช้สอนเด็กต่อไปอย่างมีคุณภาพและทำให้เด็กได้รับความรู้ให้มากที่สุด
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีวิธีการสอนที่ให้เด็กได้นำเสนอจริงโดยให้คำแนะนำอยู่ตลอด หากนักศึกษามีข้อผิดพลาดอาจารย์ก็จะบอกและให้คำแนะนำ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ แต่อาจารย์ไม่ชอบให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นเพราะอาจารย์เห็นว่าสิ่งที่อาจารย์บอกเป็นเรื่องที่ดีกว่า เราจึงควรเชื่อฟังอาจารย์ อาจารย์เตรียมกิจกรรมการสอนมาเป็นอย่างดี และปล่อยนักศึกษาตรงเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น