บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธ ที่ 27 มกราคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.
บรรยากาศการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้มีความสุขดี มากันตรงเวลาพอดี อาจารย์และนักศึกษามีการเรียนการสอนที่เป็นกันเองและมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มต่อกัน ไม่เครียด
การเรียนการสอนในวันนี้
1. กิจกรรมฝึกกระบวนการคิด
อาจารย์แจกกระดาษแข็งให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แผ่นเล็กๆ ให้นักศึกษาทุกคนเขียนชื่อลงแผ่นกระดาษนั้น จากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนนำชื่อของตนเองไปติดไว้บนกระดานหน้าห้อง และได้ออกแบบตารางการเข้าเรียน คนที่มาให้ไปติดไว้ในช่องมาเรียน ส่วนคนที่ไม่มาให้ไปติดไว้ที่ช่องไม่มาเรียน
ตารางนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ได้มากมาย อยู่ที่วัตถุประสงค์ของครูว่าต้องการจัดประสบการณ์ใดให้กับเด็ก ตัวอย่างเช่น
- สามารถเช็คได้ว่าใครมาเรียนหรือไม่มาเรียน
- เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการเรียงลำดับ 1,2,3....
- การแบ่งจำนวนเช่น จำนวนนักเรียน 20 คน มา 18 คน ไม่มา 2 คน หรือ มา 19 คน ไม่มา 1 คน เป็นต้น
- การนับจำนวนและสามารถบอกค่าได้
- การแยกกลุ่มคนมาเรียนและไม่มาเรียน
- การกำกับจำนวนโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับการมาก่อนมาหลัง
- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น เลขหนึ่ง เลขสอง เป็นต้น
- การเปรียบเทียบ
- พื้นฐานการลบ
จากนั้นอาจารย์ยังสอนอีกว่าการทำตารางการมาเรียนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบการออกแบบสื่อนั้นต้องดูจุดประสงค์ก่อนว่าจะสอนเกี่ยวกับอะไร และต้องใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
2.การนำเสนอของเพื่อนทั้งบทความ วิจัย และวีดีโอ
บทความเรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกในวัยอนุบาล
สรุปได้ว่า การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กนั้นต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยว่าควรจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างไร โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้
- ใช้สัญลักษณ์รูปภาพแทนจำนวน เช่น ใช้ภาพแอปเปิ้ลสองผลแทนจำนวนเลข 2 เป็นต้น
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้โดยเน้นมือกับตาเป็นหลักและให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
- การใช้ภาษา คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น การเพิ่ม การลด เป็นต้น
พ่อแม่ต้องเข้าใจกระบวนการพัฒนาการของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ตรงจุด
วิจัยเรื่อง การศึกษาพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
สรุปได้ว่า เด็กชอบการลงมือทำด้วยตนเองอยู่แล้ว และยิ่งเป็นการจัดประสบการณ์ Cooking ที่เด็กได้ลงมือทำเองเด็กยิ่งชอบ และสนใจในการทำ การทำอาหารในวิจัยครั้งนี้คณิตศาสตร์ที่เด็กได้เรียนรู้คือ การวัด การตวง การประมาณ ส่วนผสมของการทำอาหาร ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และมีทัศนคติที่ดีกับคณิตศาสตร์ไปด้วย
วีดีโอเรื่อง การสอนคณิตสาสตร์ด้วยนิทาน
สรุปได้ว่า กิจกรรมในครั้งนี้มุ่งหวังให้เด็กนั้นมีเจตคติที่ดีกับวิชาคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป โดยการใช้นิทาน เพลง มาเป็นตัวช่วย เพราะเด็กกับนิทานนั้นเป็นของคู่กันอยู่แล้ว เราเพียงสอดแทรกความรู้เข้าไปให้เด็กเท่านั้นเอง โดยการปลูกฝังด้วยทิทานนั้นจะทำให้เด็กชื่นชอบและสนุกไปกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกด้วย
เพลงคณิตศาสตร์
เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน ยามเช้าเรามาโรงเรียน
หนูจะพากเพียรอ่านเขียนเอย หนูจะพากเพียรอ่านเขียน
เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน เข้าแถวพลันว่องไว
เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลง ซ้าย ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลงขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
.
.
.
ลดลงไปเรื่อยๆ
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง
เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นมีประโยขน์ในการทำกิจกรรมเพื่อเรียกความสนใจจากเด็กเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นเพลงง่ายๆ และเป็นการสอดแทรกกิจกรรมประจำวันลงไปในเพลงเพื่อการสอนในน่วยต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์
คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ
มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
- คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
- ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- การวัดเรื่องเวลา
แต่งประโยคจากคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
(เวลา,การคิดอย่างมีเหตุผล)
เช่น ถ้าตั้งใจเรียนก็จะสอบได้
(การจัดประเภทการจับคู่และการตัดสินใจ)
เช่น ฉันเห็นว่ากางเกงตัวนี้เหมาะกับเสื้อของฉัน ฉันจึงตัดสินใจซื้อ
(การคาดคะเนปริมาณ,การเปรียบเทียบ)
เช่น เพื่อนคนนี้อ้วนกว่าเพื่อนคนนั้น
แสดงให้เห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา อยู่รอบๆตัวเราทั้งสิ้น
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- เข้าใจฟังความหลากหลายของการแสดงจำนวนและใช้จำนวนในชีวิตจริง
- (รับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม บางอย่างนำมาไม่ได้ก็ต้องเป็นสื่อ)
- จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
- การใช้สัญลักษณ์รูปภาพแทนจำนวนตัวเลข
การรวมการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10 คน
สาระที่ 2 การวัด
- เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงินและเวลา
- เงิน (ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร)
- เวลา (ช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกรับ
สาระที่ 3 เรขาคณิต
- รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
- รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเลขาคณิตที่เกิดขึ้นจากการจัดทำ
- ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
- การบอกทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
ความรู้ที่ได้รับ
ได้รับความรู้และทักษะกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในเรื่องการออกแบบสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นแล้วสามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมไปถึงเทคนิคการออกแบบสื่อโดยเราต้องรู้ก่อนว่าวัตถุประสงค์สื่อชิ้นนั้นต้องการจะสอนอะไรกับเด็กและยังรวมไปถึงได้เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อนำไปใช้สอนเด็กในหน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายคือการได้รับความรู้ เรื่อง สาระสำคัญต่างๆเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิตเป็นต้น
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับวันนี้ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์สื่อตารางการมาเรียนของเด็กในรูปแบบต่างๆ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การประดิษฐ์ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดรวมไปถึงเราสามารถนำเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไปใช้สอนเด็กๆในหน่วยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เพื่อเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและสนใจที่จะเรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้ต่างๆเป็นเกณฑ์เพื่อใช้สอนและใช้วัดเด็กได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดอย่างมีเหตุผลสอนด้วยวิธีการที่ทำให้นักศึกษาเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายรวมไปถึงการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาอีกด้วยและการใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนเพื่อความเข้าใจได้ง่าย
ประเมินผู้สอน
อาจารย์ผู้สอนมีความตั้งใจในการสอน และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนแบบยกตัวอย่างจึงทำให้เข้าใจได้ง่าย พร้อมทั้งยกคุณธรรม จริยธรรมในการสอนเรื่องความประหยัดอีกด้วย