ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.


บรรยากาศการเรียน
          การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เข้าสายเล็กน้อยเพราะต้องไปเปิดงานวิชาการ ส่วนนักศึกษาเข้ามาเรียนตรงเวลา วันนี้เต็มไปด้วยความสนุกสนานเพราะมีเรื่องการประดิษฐ์เข้ามาด้วย ซึ่งนักศึกษาชอบอยู่แล้ว รวมไปถึงการสอดแทรกความรู้และเทคนิคการสอนเด็กปฐมวัยมาด้วย ทำให้วันนี้นักศึกษาตั้งใจเรียน และบรรยากาศในการเรียนการสอนดีมากค่ะ

การเรียนการสอนในวันนี้
          1. ประเด็นปัญหา
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมไม้เสียบลูกชิ้นมาคนละ 12 ไม้ โดย 6 ไม้ปล่อยไว้ไม่ต้องทำอะไร ส่วนอีก 6 ไม่ให้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน แล้วตัดออกมา 1 ส่วน มาถึงในเวลาเรียนอาจารย์ได้แจกดินน้ำมันคนละ 1 ก้อน 

โดยอาจารย์ให้คำสั่งว่าให้ใช้วุสดุที่มีอยู่ คือ ไม้เสียบลูกชิ้นและดินน้ำมันทำต่อกันให้ได้รูปสามเหลี่ยม โดยใช้ไม้ยาวขนาดใดก็ได้ และทำวิธีใดก็ได้ แต่ละคนก็จะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันออกไป


ต่อมาอาจารย์ก็ให้ทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมจะทำจากสามเหลี่ยมอันเดิมหรือทำใหม่ก็ได้ วิธีใดก็ได้ และใช้ไม้ขนาดใดก็ได้ โดยของฉันได้สร้างจากสามเหลี่ยมอันเก่าเป็นฐานและนำไม้อีกสามอันมาทำให้เป็นรูปทรงที่มีความกว้าง ความยาว และความหนา



จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยวิธีใดก็ได้ ไม้ขนาดใดก็ได้ 


และให้ทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับสามเหลี่ยม แต่จำนวนไม้ในการทำไม่พอ จึงได้รวมกันทำเป็นการจับคู่สองคนและช่วยกันคิด


          จากกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการที่เราจะทำอะไรสักอย่างไม่ได้มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เราสามารถประยุกต์ในการทำได้หลากหลายวิธี การให้เด็กได้เรียนรู้ก็เช่นกัน เราต้องหาวิธีที่หลากหลายตรงตามความสามารถ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายๆด้าน เช่น เรื่องรูปทรงที่ประดิษฐ์ในวันนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้อย่างไรว่ามีกี่ด้าน เราก็นำกระดาษมาห่อเพื่อให้ดูง่ายขึ้น ว่าสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมที่ทำนั้นมีทั้งหมดกี่ด้าน 
           จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เราได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับฉัน แสดงออกเป็นแผนผังได้ดังนี้


2. การนำเสนอ
การนำเสนอบทความของนางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง 
บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ

           บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
              1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ     

           2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน     
           3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
           การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง



การนำเสนอวิจัยของนางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรา
สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค
การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค 
ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.10 – 9.50 น. 
เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้
     1. การจัดหมวดหมู
     2. การรูคาจํานวน 1 - 10
     3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้ 
          - จํานวน  ไดแก มาก – นอย เทากัน - ไมเทากัน 
          - ปริมาณ ไดแก มาก – นอย หนัก – เบา 
          - ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง – ต่ำ สั้น – ยาว 
          - รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
     4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเขาดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก           - คําพูด ( Speech)   
          - การรองเพลง (Singing)   
          - ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)   
          - การใชรางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)   
          - การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
          ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5   ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรี เพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล
          นอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไว
          ออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation สวนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 
     1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)  
     2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง
          ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้
          ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม

การนำเสนอวิจัยของนางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ของ ศุภนันท์ พลายแดง
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2553

        การวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

กลุ่มตัวอย่าง
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อา เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ

ระยะเวลาในการทดลอง
        การทดลองครั้งนี้กระทำ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
     - กิจกรรมการประกอบอาหาร
ตัวแปรตาม
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจำนวน

สรุปผลการวิจัย
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 1 สอนวัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที

สาระสำคัญ
          การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลำดับ
การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคำนวณ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้นำเอาผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก คือส้ม มาใช้ในการจัดกิจกรรมซึ่ง
นอกจากเด็กๆ จะๆได้รับคุณค่าจากสารอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ใน
เรื่องของการเปรียบเทียบ อันเปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่
ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
    - การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
    - การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
    1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
    2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
       2.1 เด็ก ๆ คิดว่าส้มมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
       2.2 ครูหยิบผลส้มออกมาใส่ตะกร้าให้เด็ก ๆ ช่วยนับจำนวนผลส้ม ทั้งหมดและถามว่ามีกี่ผล และส้มนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
    3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
    4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
       4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
       4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
       4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
       4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน

ขั้นดำเนินการ
    1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
    2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
    3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
    4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป

    1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
    2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง

สื่อการเรียนรู้
    1. ภาพส้ม
    2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
    3. ผลส้ม
    4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น

การวัดและการประเมินผล
    1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
    
    1.1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
        1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
    2. เกณฑ์การวัดผล
    
       1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
            0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้

ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
           1. ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
           2. ทักษะการคิดอย่างมีกระบวนการ
           3. ทักษะการออกแบบรูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตจากวัสดุที่กำหนด
           4. ทักษะการฟัง
           5. ทักษะการสรุปจากประเด็นปัญหา
           6. ทักษะการแก้ปัญหา

ความรู้ที่ได้รับ
ได้รับความรู้เรื่องการประยุกต์ใช้สื่อการสอนอย่างง่ายจากวัสดุที่หาง่าย หรือเหลือใช้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนในหน่วยของเรื่องรูปร่าง รูปทรง รวมไปถึงการสอนวิธีการแก้ปัญหาให้เด็กให้เด็กได้ลงมือแก้ไขด้วยตนเองอีกด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำการเรียนในวันนี้ไปใช้สอนเด็กในเรื่องของรูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่ใช้ในการประดิษฐ์อีกด้วย รวมไปถึงการสอนในเรื่องของทักษะกระบวนการคิดที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์ใช้การสอนจากวัสดุที่หาได้ง่ายแต่สามารถสอดแทรกความรู้เข้าไปในการประดิษฐ์ได้มากมาย รวมไปถึงการสอนแบบให้นักศึกษาได้คิด ก่อนจะเฉลยสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้นักศึกษาได้รับการฝึกฝนด้านกระบวนการคิด
ประเมินผู้สอน
           อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าเวลาเล็กน้อยเพราะมีการเปิดงานวิชาการ แต่ได้มีการแจ้งนักศึกษาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว การสอนของอาจารย์สอนได้ดรและเข้าใจง่าย สอดแทรกความรู้ต่างๆให้กับนักศึกษา มีความเป็นกันเอง และไม่ดุ ยิ้มแย้มเวลาสอนนักศึกษา
สรุป คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น