ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 10 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.
บรรยากาศการเรียน
บรรยากาศการเรียนการสอนในวันนี้เป็นวันที่ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะอาจารย์มีการอบรมจึงต้องรีบไปและรีบกลับมาสอนแต่อาจารย์ก็ได้เปิดวีดิโอโทรทัศน์ครูเรื่องการสอนแบบโครงการ (Project approach) ให้นักศึกษาดูและให้สรุปว่ามีเนื้อหาส่วนใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์โดยสรุปได้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์คือ เรื่องเกี่ยวกับจำนวน การเปรียบเทียบ การทำงานเป็นขั้นตอน เป็นต้น

การเรียนการสอนในวันนี้
1. การดูวีดิโอและศึกษา
อาจารย์ได้เปิดคลิปวีดิโอจากโทรทัศน์ครูโดย ดร.วรนาถ สกุลไท
ให้นักศึกษาได้สรุปว่ามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร โดยสรุปได้ดังนี้ การสอนแบบโครงการนั้นมีขั้นตอนและให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเองนี่คือวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยมีลักษณะ
คือ     1. การอภิปราย 
          2. การนำเสนอประสบการณ์เดิม 
          3. การทำงานภาคสนาม 
          4. การสืบค้น 
          5. การจัดแสดง 
การสอนแบบโครงการถือว่าตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็ก เพราะทำให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และได้สืบค้นด้วยตนเอง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม คลิกที่วีดิโอด้านล่าง
          
          
2. กระบวนการคิด
อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และให้สร้างตาราง 2 ตาราง 
ตารางที่1 ให้แบ่งเป็น 2 แถว และให้แรเงาในช่องโดยกำหนดว่าให้แรเงาในช่องที่ติดกันสองช่องโดยรูปแบบห้ามซ้ำกัน ในแนวใดก็ได้และถามว่าได้จำนวนกี่รูป ตัวอย่างดังรูปภาพ

ตารางที่ 2 ให้แบ่งเป็น 3 แถวและให้แลเงาเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนจากติดกันสองช่องเป็นสามช่อง
จากกิจกรรมนี้ ได้รับความรู้ด้านการคิดแบบหลากหลายวิธีการ และอาจารย์ได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยว่า ถ้าเราจะจัดประสบการณ์ให้เด็กไม่ว่าด้านใดๆ ก็ตามต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก
3. การนำเสนอ
สรุปบทความของนางสาวมาลินี ทวีพงศ์

เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
        อ.สุรัชน์ กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด  หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ   นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า  การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
สรุป 
  "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" 

สรุปวีดีโอของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ 

วีดิโอ เรื่อง ลูกเต๋ากับการเรียนรู้
โดย ครู นิตยา กาชัย ครูประจำชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางขาม
          นำความคิดนี้มาจากโทรทัศน์ครูและนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยหลักการของครูคือ การใช้ลูกเต๋าเพื่อเป็นสื่อใสการเรียนรู้ของเด็กและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งในของจะสาธิตการสอนได้ 2 อย่างคือ 1 เรื่องจำนวนคู่-จำนวนคี่ โดยครูให้เด็กแต่ล่ะคนโยนลูกเต๋าและให้เด็กนับจำนวนบนลูกเต๋าว่ามีจำนวนเท่าใดและนำไปเขียนบนกระดานโดยบนกระดานจะมีตารางซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งของจำนวนคู่และจำนวนคี่เมื่อเด็กโยนเสร็จแล้วครูก็จะถามเด็กว่านี่คือเลขอะไรและเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เรื่องที่ 2 คือเรื่องการบวกเลขอย่างง่ายโดยการใช้ลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันและให้เด็กนับจำนวนว่าแต่ล่ะลูกมีจำนวนเท่าใด และนำมาบวกกันจากนั้นครูและเด็กก็ร่วมกันแต่งโจทย์ปัญหาอย่างง่ายขึ้นมา เช่น แม่มีแมวอยู่ 3 ตัว พ่อซื้อมาอีก 4 ตัว ตอนนี้แม่มีแมวทั้งหมดกี่ตัว
ซึ่งวีดิโอนี้จะสรุปได้ว่า

เด็กจะได้รับความรู้จากสื่ออุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาให้ได้อย่างเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้บังให้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มาก


ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
  1. ทักษะการฟัง
  2. ทักษะการสรุปจากการดูและการฟัง
  3. ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
  4. ทักษะการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  5. ทักษะการออกแบบ
ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ หรือ Project approach ได้รู้ถึงวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้การสอนแบบโครงการ เช่น วิธีการสอน วิธีการให้เด็กได้นำเสนอประสบการณ์เดิม วิธีการสอนเด็กอย่างไรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง และอีกมากมาย ได้รับกระบวนการคิดจากกิจกรรมตาราง โดยทำให้เราได้รู้ว่าการคิดในเรื่องเดียวกันในลักษณะเดียวกัน อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปก็ได้ รวมไปถึงการนำเสนอของเพื่อนทำให้ได้รับรู้ความคิดของผู้เขียนบทความ และทำให้เราได้รู้อะไรมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้จากการศึกษาแบบโครงการมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก โดยใช้วิธีการที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง และสามารถใช้คณิตศาสตร์สอดแทรกไปในกิจกรรมต่างๆ ได้อีกด้วย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
          อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่ให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีเหตุผลเป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิดได้ดีมาก รวมไปถึงการสอดแทรกความรู้ต่างๆ นอกบทเรียนให้นักศึกษาอีกด้วย

ประเมินผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาถึงจะมีธุระแต่ก็ได้มอบหมายงานไว้ให้นักศึกษาได้ทำ อาจารย์สอนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศในห้องน่าเรียน และเต็มไปด้วยความอบอุ่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น