บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.
**ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไม่สบาย**
จึงได้สรุปการเรียนการสอนจาก Blogger ของนางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว
สรุปการนำเสนอบทความของนางสาวชื่นนภา เพิ่มพูน
เรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิต
คณิตมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน ซึ่งคนในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล คริตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบมาตรฐานคือ
1) หาสิ่งที่ต้องการทราบ
2) วางแผนการแก้ปัญหา
3) ค้นหาคำตอบ
4) ตรวจสอบสิ่งต่างๆ
จากกระบวนการคณิตศาสตร์ข้างต้นนี้เป็นการแก้ปัญหาและทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ จะเห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายของ การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง การเงินการธนาคาร เป็นต้น
สรุปการนำเสนอบทความของนางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา
เรื่อง การเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์นั้นมีอยู่รอบๆตัวเรา ในแต่ละวันเราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน รูปทรง เรขาคณิต การจับคู่ เป็นต้น ตัวอย่างของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำ เช่น การตื่นนอน(เรื่องเวลา) การแต่งกาย(การจับคู่เสื้อกับกางเกง) การเดินทาง(ทิศทาง ตัวเลขสีญญาณไฟ)
และจะสรุปได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นมีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่างๆทางด้านคณิตศาสตร์ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก็มีความสำคัญเช่นกัน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ให้เด็กได้เรียนรู้ ได้กระทำด้วยตนเองผ่านการเล่น การสัมผัส เป็นต้น การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เกิดความคิดรวบยอด ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 7 ทักษะ คือ
1. ทักษะการสังเกต (Observation)
2. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
3. ทักษะการเปรียบเทียบ (Comparing)
4. ทักษะการจัดลำดับ (Ordering)
5. ทักษะการวัด (Measurement)
6. ทักษะการนับ (Counting)
7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
โดยทักษะพื้นฐานในการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยอาจจะแบ่งได้ 3 ทักษะ คือ
1) ทักษะในการจัดหมู่
2) ทักษะในการรวมหมู่ (เพิ่ม)
3) ทักษะในการแยกหมู่ (ลด)
ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำโครงร่างของหัวข้อ mind map ที่เราเขียนร่างไว้ออกมานำเสนอ กลุ่มของดิฉันคือหน่วยของเล่นของใช้
1.ประเภท - ของเล่น ของใช้
2.ลักษณะ - สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง
3.การเก็บรักษา - เก็บให้เข้าที่ ทำความสะอาด รักษาและซ่อมแซม แยกประเภท
4.ประโยชน์ - ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมพัฒนาการ
5.ข้อควรระวัง - ของอาจแตกหักได้
สำหรับวันจันทร์กลุ่มของดิฉันใช้กิจกรรมแยกประเภท คือ สอนให้เด็กสามารถแยกของเล่นของใช้ได้ คือของเล่นคือของสมมติที่ใช้เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนของใช้ คือ สิ่งที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
กิจกรรม แยกของเล่นของใช้ (วันจันทร์ ประเภท)
ขั้นนำ
1. นำเด็กเข้าสู่กิจกรรมด้วยเพลง ของเล่นของใช้
ขั้นสอน
2. ครูถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักของเล่นของใช้อะไรในเพลงบ้าง และนอกจากเพลงนี้เด็กๆรู้ไหมว่ามีของเล่นของใช้อะไรบ้าง
3. ครูนำสื่อของจริง ของเล่นของใช้มาให้เด็กดูทีละอย่างและอธิบายว่ามันคืออะไร
4. ครูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น
5. ครูให้เด็กสำรวจของเล่นของใช้ที่ตนเองได้ และให้เด็กๆแยกประเภทว่าของทีตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนว่าของเล่นของใช้ของตนเองคืออะไร เป็นแบบไหน
กิจกรรม จำแนกแสนสนุก (วันอังคาร ลักษณะ)
ขั้นนำ
1. ครูนำเด็กเข้าสู่กิจกรรมด้วย ภาพตัดต่อ ให้เด็กๆลองทายว่าคืออะไร
ขั้นสอน
2. ครูอธิบายอุปกรณ์องเล่นของใช้แต่ละชิ้นว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น แก้วน้ำ เป็นรูปทรงกระบอก พื้นผิวเรียบ ตุ๊กตา ขนาดเล็ก พื้นผิวนิ่ม เป็นต้น
3. ครูให้เด็กสังเกตของเล่นของใช้แต่ละชิ้นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
4. ครูอธิบายวิธีการทำกิจกรรม โดยให้เด็กจำแนกของเล่นของใช้ที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง เหมือนกันไว้ด้วยกันให้ถูกต้อง
ขั้นสรุป
5. ครูและเด็กตรวจสอบร่วมกันว่าจำแนกได้ถูกต้องหรือไม่ แล้วนับของแต่ละชิ้น
6. ครูพูดสรุปเกี่ยวกับลักษณะของเล่นของใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น