ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.
บรรยากาศการเรียนการสอน 
          ในวันนี้อาจารย์ และนักศึกษามาเข้าห้องเรียนตรงเวลา การเรียนการสอนในวันนี้เป็นไปด้วยความสบายเพราะเป็นการสอนแผนที่เราได้คิดมากลุ่มละ 5 คน เริ่มจากกลุ่มยานพาหนะ , ของเล่นของใช้ , ผลไม้ และกล้วย

การเรียนการสอน
          - การนำเสนอการสอนในแต่ละหน่วยของวันจันทร์และวันอังคาร 
กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ
          สอนในเรื่องของประเภทของยานพาหนะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ยานพาหนะทางบก ยานพาหนะทางน้ำ และยานพาหนะทางอากาศ โดยเพื่อนกลุ่มนี้เริ่มต้นขั้นสอนด้วย คำถาม ถึงประสบการณ์เดิมหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะที่เด็กๆ เคยใช้ ต่อด้วยขั้นสอนคือ ให้เด็กๆ แยกประเภทของยานพาหนะว่าแต่ละชนิดอยู่ในยานพาหนะประเภทใด โดยให้เด็กแต่ละคนออกไปติดรุปยานพาหนะว่าแต่ละชนิดนั้น อยู่ในประเภทใด และสรุปโดยการพูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับประเภทของยานพาหนะ
          โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการสอนครั้งนี้ว่า การสอนเด็กนั้นเราจะต้องไปทีละขั้นไปควรมองข้ามจุดเล็กๆ เช่นจะมาถามเด็กเลยไม่ได้ว่ายานพาหนะมีกี่ประเภท ควรเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ไปหายาก และการเชื่อมโยงกับคณิตศาสร์ ในเรื่องของจำนวนยานพาหนะ เช่นการนับว่ายานพาหนะทางบกมีจำนวนเท่าใด ยานพาหนะทางน้ำมีจำนวนเท่าใด ยานพาหนะทางอากาศมีจำนวนเท่าใดแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นกับของใช้
          สอนเรื่องประเภทของเล่นและของใช้ โดยเริ่มจากการเข้ากิจกรรมโดยเพลง และนำของเล่นและของใช้ปะปนกับไว้ นำออกมาทีละชิ้นและถามเด็กๆว่านี่คือของเล่นหรือของใช้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กแยกประเภท ระหว่างของเล่นและของใช้ได้ จากนั้นเป็นการให้เด็กแต่ละคนบอกวิธีการใช้ของเล่นกับของใช้ที่ตนเองเคยเล่น ขั้นสรุป เป็นการทบทวนประเภทของเล่นกับของใช้
          โดยอาจารยืได้แนะนำว่า การที่เราจะมาบอกเด็กว่าสิ่งใดเป็นของเล่นหรือของใช้นั้น เราต้องบอกความหมายที่ชัดเจนให้กับเด็กก่อนว่านิยามคำว่าของเล่น คืออะไร และของใช้คืออะไร โดยของใช้คือวิ่งที่เอาไว้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กแยกออกว่าสิ่งไหนคือของเล่นสิ่งไหนคือของใช้ รวมไปถึงเรื่องของการใช้ภาชนะในการมาสอนไม่ควรเป็นถุง ควรเป็นอะไรที่ทำให้เด็กตื่นเต้น หรือให้สอดคล้องกับหน่วยที่เด็กเรียน
กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
          เริ่มต้นการสอนโดยการพูดคุย ตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่ารู้จักหรือเคยรับประทานผลไม้ชนิดใดบ้าง จากนั้นก็ให้เด็กแต่ละคนได้ชิมผลไม้ชนิดต่างๆ ที่ครูเตรียมมา เพื่อให้เด็กๆ รู้ถึงรสชาติของผลไม้แต่ละชนิด รวมไปถึงให้เด็กๆ ได้รู้ถึงส่วนประกอบ สี ขนาดอีกด้วย จากนั้นถึงขั้นสรุปได้ให้เด็กๆ ช่วยกันตอบคำถามเรื่องของผลไม้ชนิดต่างๆ ว่ามีสีอะไร รูปร่างอย่างไร ขนาดเท่าใด มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีรสชาติเป็นอย่างไร แล้วสรุปเป็นภาพให้เด็กได้เห็นได้เรียนรู้เรื่องของภาษาด้วย
          โดยอาจารย์ได้แนะนำว่าถ้าเราไปสอนเด็กจริงๆ การที่เราให้เด็กชิมผลไม้ หรือชิมอะไรก็ตามไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นแล้วจะมารุมอยู่ที่ครู และไม่จำเป็นต้องนำผลไม้จริงมาทุกครั้ง เพราะจะลำบากครูเอง ควรดูความเหมาะสมของสถานการณ์ในการสอนด้วย
กลุ่มที่ 4 หน่วยกล้วย
          เริ่มต้นการสอนด้วยเพลงกล้วย แล้วครูได้นำกล้วยไข่ และกล้วยหอมมาให้เด็กดู เพื่อเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของกล้วยแต่ละชนิดทั้งรูปร่าง ขนาด สี รวมไปถึงรสชาติด้วย จากนั้นก็สอนเรื่องความแตกต่างของกล้วยทั้งสองชนิดนี้ และสรุปด้วยไดอะแกรม
โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่าถ้าเรายังไม่มั่นใจอะไร เช่นเรื่องสีของกล้วยที่อาจจะไม่เหมือนกันทุกลูกก็ไม่ควรนำมาถามเด็ก เป็นต้น
ทักษะที่ได้รับ
          1. ทักษะการฟัง
          2. ทักษะการสรุปข้อมูลจากการฟัง
          3. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
          4. ทักษะการสอน

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
          ได้รับความรู้ในการสอนแต่ละหน่วยที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งคำแนะนำเพิ่มเติมของอาจารย์ที่บอกเราทำให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น และสอนการใช้ประโยชน์จากสื่อที่เราเตรียมมาได้มากขึ้น อย่าปล่อยให้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ หลุดไป เราต้องนำมาสอนเด็กอย่างละเอียดเพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นการเรียนรู้ครั้งแรก เราควรให้ความรู้กับเด็กมากที่สุดตามการเรียนรู้และตามพัฒนาการของเด็ก ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปปรับปรุงและเพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังขาดและใช้สอนเด็กต่อไปอย่างมีคุณภาพและทำให้เด็กได้รับความรู้ให้มากที่สุด

เทคนิคการสอนของอาจารย์
          อาจารย์มีวิธีการสอนที่ให้เด็กได้นำเสนอจริงโดยให้คำแนะนำอยู่ตลอด หากนักศึกษามีข้อผิดพลาดอาจารย์ก็จะบอกและให้คำแนะนำ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ แต่อาจารย์ไม่ชอบให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นเพราะอาจารย์เห็นว่าสิ่งที่อาจารย์บอกเป็นเรื่องที่ดีกว่า เราจึงควรเชื่อฟังอาจารย์ อาจารย์เตรียมกิจกรรมการสอนมาเป็นอย่างดี และปล่อยนักศึกษาตรงเวลา

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559


                    
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.

**ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไม่สบาย**

จึงได้สรุปการเรียนการสอนจาก Blogger ของนางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว
สรุปการนำเสนอบทความของนางสาวชื่นนภา เพิ่มพูน
เรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิต
          คณิตมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน ซึ่งคนในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล คริตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบมาตรฐานคือ 
          1) หาสิ่งที่ต้องการทราบ
          2) วางแผนการแก้ปัญหา
          3) ค้นหาคำตอบ
          4) ตรวจสอบสิ่งต่างๆ
จากกระบวนการคณิตศาสตร์ข้างต้นนี้เป็นการแก้ปัญหาและทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ จะเห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายของ การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง การเงินการธนาคาร เป็นต้น  

สรุปการนำเสนอบทความของนางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา
เรื่อง การเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์
          คณิตศาสตร์นั้นมีอยู่รอบๆตัวเรา ในแต่ละวันเราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน รูปทรง เรขาคณิต การจับคู่ เป็นต้น ตัวอย่างของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำ เช่น การตื่นนอน(เรื่องเวลา) การแต่งกาย(การจับคู่เสื้อกับกางเกง) การเดินทาง(ทิศทาง ตัวเลขสีญญาณไฟ) 
          และจะสรุปได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นมีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่างๆทางด้านคณิตศาสตร์ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก็มีความสำคัญเช่นกัน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ให้เด็กได้เรียนรู้ ได้กระทำด้วยตนเองผ่านการเล่น การสัมผัส เป็นต้น การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เกิดความคิดรวบยอด ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 7 ทักษะ คือ
          1. ทักษะการสังเกต (Observation)
          2. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
          3. ทักษะการเปรียบเทียบ (Comparing)
          4. ทักษะการจัดลำดับ (Ordering)
          5. ทักษะการวัด (Measurement)
          6. ทักษะการนับ (Counting)
          7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
โดยทักษะพื้นฐานในการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยอาจจะแบ่งได้ 3 ทักษะ คือ
          1) ทักษะในการจัดหมู่
          2) ทักษะในการรวมหมู่ (เพิ่ม)
          3) ทักษะในการแยกหมู่ (ลด)

  

          ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำโครงร่างของหัวข้อ mind map ที่เราเขียนร่างไว้ออกมานำเสนอ กลุ่มของดิฉันคือหน่วยของเล่นของใช้
          1.ประเภท - ของเล่น ของใช้
          2.ลักษณะ - สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง
          3.การเก็บรักษา - เก็บให้เข้าที่ ทำความสะอาด รักษาและซ่อมแซม แยกประเภท
          4.ประโยชน์ - ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมพัฒนาการ
          5.ข้อควรระวัง - ของอาจแตกหักได้
          สำหรับวันจันทร์กลุ่มของดิฉันใช้กิจกรรมแยกประเภท คือ สอนให้เด็กสามารถแยกของเล่นของใช้ได้ คือของเล่นคือของสมมติที่ใช้เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนของใช้ คือ สิ่งที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 

กิจกรรม แยกของเล่นของใช้ (วันจันทร์ ประเภท)
ขั้นนำ 
1. นำเด็กเข้าสู่กิจกรรมด้วยเพลง ของเล่นของใช้
ขั้นสอน
2. ครูถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักของเล่นของใช้อะไรในเพลงบ้าง และนอกจากเพลงนี้เด็กๆรู้ไหมว่ามีของเล่นของใช้อะไรบ้าง 
3. ครูนำสื่อของจริง ของเล่นของใช้มาให้เด็กดูทีละอย่างและอธิบายว่ามันคืออะไร
4. ครูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น
5. ครูให้เด็กสำรวจของเล่นของใช้ที่ตนเองได้ และให้เด็กๆแยกประเภทว่าของทีตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง 
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนว่าของเล่นของใช้ของตนเองคืออะไร เป็นแบบไหน

กิจกรรม จำแนกแสนสนุก (วันอังคาร ลักษณะ)
ขั้นนำ
          1. ครูนำเด็กเข้าสู่กิจกรรมด้วย ภาพตัดต่อ ให้เด็กๆลองทายว่าคืออะไร
ขั้นสอน
          2. ครูอธิบายอุปกรณ์องเล่นของใช้แต่ละชิ้นว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น แก้วน้ำ เป็นรูปทรงกระบอก พื้นผิวเรียบ ตุ๊กตา  ขนาดเล็ก พื้นผิวนิ่ม เป็นต้น
          3. ครูให้เด็กสังเกตของเล่นของใช้แต่ละชิ้นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
          4. ครูอธิบายวิธีการทำกิจกรรม โดยให้เด็กจำแนกของเล่นของใช้ที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง เหมือนกันไว้ด้วยกันให้ถูกต้อง
ขั้นสรุป
          5. ครูและเด็กตรวจสอบร่วมกันว่าจำแนกได้ถูกต้องหรือไม่ แล้วนับของแต่ละชิ้น 
          6. ครูพูดสรุปเกี่ยวกับลักษณะของเล่นของใช้





วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันพุธ ที่ 16 มีนาคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.


บรรยากาศการเรียนการสอน
          วันนี้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย เพราะมีการย้ายอาคารเรียน และอาจารย์ต้องย้ายของจากตึก 2 ไปที่ตึก 4 ทำให้การเรียนการสอนไม่ราบรื่นเท่าที่ควร ต้องมาเรียนที่ตึก 2 ที่กำลังจะทุบและมีฝุ่นเยอะ อาจารย์จึงรีบสรุปและรีบให้นักศึกษากลับไปทำงานเพิ่มเติม

การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ได้สรุปการทำแผนผังความคิดการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ของแต่ละกลุ่ม และให้คำติชมว่าต้องแก้ไขตรงจุดใดบ้าง พร้อมทั้งให้เขียนแผนการจัดกิจกรรมมา 5 วัน ตามหน่วยของแต่ละกลุ่มและนี่คือผลงานของกลุ่มดิฉัน

ผลงานของกลุ่มเพื่อนๆ

หน่วยกล้วย กล้วย

หน่วยผลไม้

หน่วยของเล่นกับของใช้

หน่วยยานพาหนะ
ทักษะที่ได้รับ
          1. ทักษะการฟัง
          2. ทักษะการสรุปผล
          3. ทักษะการแก้ไขปัญหา
          4. ทักษะการออกแบบแผนผังความคิด

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนกิจกรรมของหน่วยที่เราจะสอน และการแบ่งการสอนเป็นลำดับขั้นคือ 1. ประเภท,ชนิด 2. ลักษณะ 3. การดูแลรักษา,การดำรงชีวิต,ปัจจัยสำคัญ 4. ประโยชน์ 5. โทษหรือข้อควรระวัง ทำให้เราสามารถนำไปใช้ในการสอนและสามารถออกแบบหน่วยการสอนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก

เทคนิคการสอนของอาจารย์
          ถึงแม้ว่าอาจารย์จะยุ่งหรือมีธุระกับการย้ายอาคารเรียนอาจารย์ก็ยังสามารถใช้เทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายในเวลาแค่นิดเดียว และมีเทคนิคการสรุปความรู้ให้เราเข้าใจง่ายอีกด้วย
ประเมินผู้สอน
          อาจารย์สอนได้เข้าใจในเวลาที่มีจำกัด และสามารถสรุปองค์ความรู้ต่างๆ ให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย ถึงแม้ว่าอาจารย์จะมีธุระแต่ก็ยังสละเวลามาสอนนักศึกษา เป็นเรื่องที่น่านำมาเป็นตัวอย่างในการประกอบวิชาชีพต่อไป






วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9
วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บรรยากาศการเรียน
วันนี้อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าเวลานิดหน่อยเพราะมีธุระต้องทำการย้ายอาคารเรียน นักศึกษามาเรียนอย่างตั้งใจ เมื่ออาจารย์เข้าห้องมาสอนแล้วก็ทำการสอนด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสทำให้บรรยากาศในการเรียนเป็นไปด้วยดี ไม่อึดอัด

การเรียนการสอนในวันนี้
          1. การเริ่มต้นการสอน
     - โดยการสรุปการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์ สังกัดคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตั้งเป็นประเด็นคำถามให้นักศึกษาตอบ และให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียน สื่อการสอน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน รวมไปถึงการนำคณิตศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆด้วย โดยดิฉันได้สรุปไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และอาจารย์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น สาระการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระของเด็กปฐมวัย และการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม 
     - อาจารย์อธิบายความสัมพันธ์ของจำนวนเลขคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ตัวเลข 5 3 1 และ  3 5 7 โดยจะมีความสัมพันธ์กัน คือ ตัวเลขชุดที่หนึ่งจะลดทีละสองไปเรื่อยๆ ส่วนตัวเลขชุดที่สองจะเพิ่มจำนวนทีละสองไปเรื่อย เป็นสาระการเรียนรู้ที่4 เรื่องพีชคณิต (ความสัมพันธ์)
          2. การนำเสนอ
การนำเสนอวีดีโอของนางสาวภทรธร รัชนิพนธ์

     ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี­ยน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อสอนต่อไปหากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย 
การนำเสนอวีดีโอของนางสาวจิราภรณ์ ฟักเขียว

โทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์



        โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doingเด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
การนำเสนอวิจัยของนางสาวสุวนัน สายสุด
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้


ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-ความมุ่งหมายของวิจัย
  เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สมมติฐานในการวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

-ขอบเขตการวิจัย
  นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สรุปผลวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

หน่อย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้

มโนท้ศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์
  สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้ร
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
สรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน

1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก


          3. การออกแบบหน่วยการสอน
โดยอาจารย์ให้นักศึกษาคิดหัวข้อหน่วยการสอนเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยมาคนละ 1 หัวข้อที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากนั้นก็ให้แต่ละคนกำหนดขอบเขตของการออกแบบสื่อของตนเอง เช่น ชนิด ประเภท ลักษณะ ประโยชน์ ฯลฯ โดยการกำหนดขอบเขตการจัดประสบการณ์นั้นต้องไปซับซ้อนจนเกินไป และเหมาะสมกับวัยและการเรียนรู้ของเด็กด้วย โดยหน่วยที่เลือกนั้นต้องเลือกตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 4 สาระคือ 
     1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 
     2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 
     3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก 
     4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
การของแบบของดิฉันเป็น หน่วย ของใช้กับของเล่นอาจารย์ให้คำปรึกษาว่าหัวข้อดีแต่ต้องเพิ่มประโยชน์อีกนิด
สุดท้ายคือการสรุปการออกแบบหน่วยการสอนของแต่ละคนโดยมีอาจารย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด หรือควรเพิ่มเติมอะไรหรือไม่
ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
          1. ทักษะการฟัง
          2. ทักษะการสรุปข้อมูล
          3. ทักษะการสอนเด็ก
          4. ทักษะการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
          5. ทักษะการทำแผนผังความคิด
          6. ทักษะกระบวนการคิดอย่างที่เหตุผล
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
             ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ของเด็กทั้ง 6 สาระ โดยอาจารย์ยกตัวอย่างอย่างง่ายๆให้นักศึกษาเข้าใจรวมไปถึงการออกแบบหน่วยการสอนเพื่อจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม สามารถกำหนดขอบเขตได้อย่างถูกต้อง การเรียนการสอนในวันนี้นั้นเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบหน่วยการสอน ว่าจะมีขอบเขต และใช้สื่อการสอนอย่างไรที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจง่ายที่สุด และได้รับความรู้และประสบการณ์มากที่สุด

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีการสอนที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละสัปดาห์ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เราสนใจและอยากรู้เทคนิคการสอนของอาจารย์ อาจารย์จะตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบอยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินผู้สอน
           อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน เตรียมกิจกรรมการสอนมาเป็นอย่างดี และลำดับการจัดกิจกรรมได้อย่างเป็นขั้นตอน มีความเป็นกันเองและไม่ดุนักศึกษา มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยะธรรมในการสอนด้วย