ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.


บรรยากาศการเรียน
          การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เข้าสายเล็กน้อยเพราะต้องไปเปิดงานวิชาการ ส่วนนักศึกษาเข้ามาเรียนตรงเวลา วันนี้เต็มไปด้วยความสนุกสนานเพราะมีเรื่องการประดิษฐ์เข้ามาด้วย ซึ่งนักศึกษาชอบอยู่แล้ว รวมไปถึงการสอดแทรกความรู้และเทคนิคการสอนเด็กปฐมวัยมาด้วย ทำให้วันนี้นักศึกษาตั้งใจเรียน และบรรยากาศในการเรียนการสอนดีมากค่ะ

การเรียนการสอนในวันนี้
          1. ประเด็นปัญหา
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมไม้เสียบลูกชิ้นมาคนละ 12 ไม้ โดย 6 ไม้ปล่อยไว้ไม่ต้องทำอะไร ส่วนอีก 6 ไม่ให้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน แล้วตัดออกมา 1 ส่วน มาถึงในเวลาเรียนอาจารย์ได้แจกดินน้ำมันคนละ 1 ก้อน 

โดยอาจารย์ให้คำสั่งว่าให้ใช้วุสดุที่มีอยู่ คือ ไม้เสียบลูกชิ้นและดินน้ำมันทำต่อกันให้ได้รูปสามเหลี่ยม โดยใช้ไม้ยาวขนาดใดก็ได้ และทำวิธีใดก็ได้ แต่ละคนก็จะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันออกไป


ต่อมาอาจารย์ก็ให้ทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมจะทำจากสามเหลี่ยมอันเดิมหรือทำใหม่ก็ได้ วิธีใดก็ได้ และใช้ไม้ขนาดใดก็ได้ โดยของฉันได้สร้างจากสามเหลี่ยมอันเก่าเป็นฐานและนำไม้อีกสามอันมาทำให้เป็นรูปทรงที่มีความกว้าง ความยาว และความหนา



จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยวิธีใดก็ได้ ไม้ขนาดใดก็ได้ 


และให้ทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับสามเหลี่ยม แต่จำนวนไม้ในการทำไม่พอ จึงได้รวมกันทำเป็นการจับคู่สองคนและช่วยกันคิด


          จากกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการที่เราจะทำอะไรสักอย่างไม่ได้มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เราสามารถประยุกต์ในการทำได้หลากหลายวิธี การให้เด็กได้เรียนรู้ก็เช่นกัน เราต้องหาวิธีที่หลากหลายตรงตามความสามารถ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายๆด้าน เช่น เรื่องรูปทรงที่ประดิษฐ์ในวันนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้อย่างไรว่ามีกี่ด้าน เราก็นำกระดาษมาห่อเพื่อให้ดูง่ายขึ้น ว่าสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมที่ทำนั้นมีทั้งหมดกี่ด้าน 
           จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เราได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับฉัน แสดงออกเป็นแผนผังได้ดังนี้


2. การนำเสนอ
การนำเสนอบทความของนางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง 
บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ

           บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
              1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ     

           2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน     
           3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
           การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง



การนำเสนอวิจัยของนางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรา
สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค
การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค 
ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.10 – 9.50 น. 
เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้
     1. การจัดหมวดหมู
     2. การรูคาจํานวน 1 - 10
     3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้ 
          - จํานวน  ไดแก มาก – นอย เทากัน - ไมเทากัน 
          - ปริมาณ ไดแก มาก – นอย หนัก – เบา 
          - ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง – ต่ำ สั้น – ยาว 
          - รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
     4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเขาดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก           - คําพูด ( Speech)   
          - การรองเพลง (Singing)   
          - ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)   
          - การใชรางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)   
          - การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
          ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5   ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรี เพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล
          นอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไว
          ออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation สวนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 
     1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)  
     2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง
          ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้
          ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม

การนำเสนอวิจัยของนางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ของ ศุภนันท์ พลายแดง
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2553

        การวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

กลุ่มตัวอย่าง
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อา เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ

ระยะเวลาในการทดลอง
        การทดลองครั้งนี้กระทำ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
     - กิจกรรมการประกอบอาหาร
ตัวแปรตาม
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจำนวน

สรุปผลการวิจัย
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 1 สอนวัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที

สาระสำคัญ
          การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลำดับ
การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคำนวณ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้นำเอาผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก คือส้ม มาใช้ในการจัดกิจกรรมซึ่ง
นอกจากเด็กๆ จะๆได้รับคุณค่าจากสารอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ใน
เรื่องของการเปรียบเทียบ อันเปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่
ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
    - การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
    - การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
    1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
    2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
       2.1 เด็ก ๆ คิดว่าส้มมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
       2.2 ครูหยิบผลส้มออกมาใส่ตะกร้าให้เด็ก ๆ ช่วยนับจำนวนผลส้ม ทั้งหมดและถามว่ามีกี่ผล และส้มนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
    3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
    4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
       4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
       4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
       4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
       4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน

ขั้นดำเนินการ
    1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
    2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
    3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
    4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป

    1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
    2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง

สื่อการเรียนรู้
    1. ภาพส้ม
    2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
    3. ผลส้ม
    4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น

การวัดและการประเมินผล
    1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
    
    1.1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
        1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
    2. เกณฑ์การวัดผล
    
       1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
            0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้

ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
           1. ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
           2. ทักษะการคิดอย่างมีกระบวนการ
           3. ทักษะการออกแบบรูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตจากวัสดุที่กำหนด
           4. ทักษะการฟัง
           5. ทักษะการสรุปจากประเด็นปัญหา
           6. ทักษะการแก้ปัญหา

ความรู้ที่ได้รับ
ได้รับความรู้เรื่องการประยุกต์ใช้สื่อการสอนอย่างง่ายจากวัสดุที่หาง่าย หรือเหลือใช้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนในหน่วยของเรื่องรูปร่าง รูปทรง รวมไปถึงการสอนวิธีการแก้ปัญหาให้เด็กให้เด็กได้ลงมือแก้ไขด้วยตนเองอีกด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำการเรียนในวันนี้ไปใช้สอนเด็กในเรื่องของรูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่ใช้ในการประดิษฐ์อีกด้วย รวมไปถึงการสอนในเรื่องของทักษะกระบวนการคิดที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์ใช้การสอนจากวัสดุที่หาได้ง่ายแต่สามารถสอดแทรกความรู้เข้าไปในการประดิษฐ์ได้มากมาย รวมไปถึงการสอนแบบให้นักศึกษาได้คิด ก่อนจะเฉลยสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้นักศึกษาได้รับการฝึกฝนด้านกระบวนการคิด
ประเมินผู้สอน
           อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าเวลาเล็กน้อยเพราะมีการเปิดงานวิชาการ แต่ได้มีการแจ้งนักศึกษาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว การสอนของอาจารย์สอนได้ดรและเข้าใจง่าย สอดแทรกความรู้ต่างๆให้กับนักศึกษา มีความเป็นกันเอง และไม่ดุ ยิ้มแย้มเวลาสอนนักศึกษา
สรุป คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 10 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.
บรรยากาศการเรียน
บรรยากาศการเรียนการสอนในวันนี้เป็นวันที่ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะอาจารย์มีการอบรมจึงต้องรีบไปและรีบกลับมาสอนแต่อาจารย์ก็ได้เปิดวีดิโอโทรทัศน์ครูเรื่องการสอนแบบโครงการ (Project approach) ให้นักศึกษาดูและให้สรุปว่ามีเนื้อหาส่วนใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์โดยสรุปได้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์คือ เรื่องเกี่ยวกับจำนวน การเปรียบเทียบ การทำงานเป็นขั้นตอน เป็นต้น

การเรียนการสอนในวันนี้
1. การดูวีดิโอและศึกษา
อาจารย์ได้เปิดคลิปวีดิโอจากโทรทัศน์ครูโดย ดร.วรนาถ สกุลไท
ให้นักศึกษาได้สรุปว่ามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร โดยสรุปได้ดังนี้ การสอนแบบโครงการนั้นมีขั้นตอนและให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเองนี่คือวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยมีลักษณะ
คือ     1. การอภิปราย 
          2. การนำเสนอประสบการณ์เดิม 
          3. การทำงานภาคสนาม 
          4. การสืบค้น 
          5. การจัดแสดง 
การสอนแบบโครงการถือว่าตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็ก เพราะทำให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และได้สืบค้นด้วยตนเอง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม คลิกที่วีดิโอด้านล่าง
          
          
2. กระบวนการคิด
อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และให้สร้างตาราง 2 ตาราง 
ตารางที่1 ให้แบ่งเป็น 2 แถว และให้แรเงาในช่องโดยกำหนดว่าให้แรเงาในช่องที่ติดกันสองช่องโดยรูปแบบห้ามซ้ำกัน ในแนวใดก็ได้และถามว่าได้จำนวนกี่รูป ตัวอย่างดังรูปภาพ

ตารางที่ 2 ให้แบ่งเป็น 3 แถวและให้แลเงาเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนจากติดกันสองช่องเป็นสามช่อง
จากกิจกรรมนี้ ได้รับความรู้ด้านการคิดแบบหลากหลายวิธีการ และอาจารย์ได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยว่า ถ้าเราจะจัดประสบการณ์ให้เด็กไม่ว่าด้านใดๆ ก็ตามต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก
3. การนำเสนอ
สรุปบทความของนางสาวมาลินี ทวีพงศ์

เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
        อ.สุรัชน์ กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด  หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ   นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า  การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
สรุป 
  "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" 

สรุปวีดีโอของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ 

วีดิโอ เรื่อง ลูกเต๋ากับการเรียนรู้
โดย ครู นิตยา กาชัย ครูประจำชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางขาม
          นำความคิดนี้มาจากโทรทัศน์ครูและนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยหลักการของครูคือ การใช้ลูกเต๋าเพื่อเป็นสื่อใสการเรียนรู้ของเด็กและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งในของจะสาธิตการสอนได้ 2 อย่างคือ 1 เรื่องจำนวนคู่-จำนวนคี่ โดยครูให้เด็กแต่ล่ะคนโยนลูกเต๋าและให้เด็กนับจำนวนบนลูกเต๋าว่ามีจำนวนเท่าใดและนำไปเขียนบนกระดานโดยบนกระดานจะมีตารางซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งของจำนวนคู่และจำนวนคี่เมื่อเด็กโยนเสร็จแล้วครูก็จะถามเด็กว่านี่คือเลขอะไรและเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เรื่องที่ 2 คือเรื่องการบวกเลขอย่างง่ายโดยการใช้ลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันและให้เด็กนับจำนวนว่าแต่ล่ะลูกมีจำนวนเท่าใด และนำมาบวกกันจากนั้นครูและเด็กก็ร่วมกันแต่งโจทย์ปัญหาอย่างง่ายขึ้นมา เช่น แม่มีแมวอยู่ 3 ตัว พ่อซื้อมาอีก 4 ตัว ตอนนี้แม่มีแมวทั้งหมดกี่ตัว
ซึ่งวีดิโอนี้จะสรุปได้ว่า

เด็กจะได้รับความรู้จากสื่ออุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาให้ได้อย่างเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้บังให้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มาก


ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
  1. ทักษะการฟัง
  2. ทักษะการสรุปจากการดูและการฟัง
  3. ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
  4. ทักษะการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  5. ทักษะการออกแบบ
ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ หรือ Project approach ได้รู้ถึงวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้การสอนแบบโครงการ เช่น วิธีการสอน วิธีการให้เด็กได้นำเสนอประสบการณ์เดิม วิธีการสอนเด็กอย่างไรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง และอีกมากมาย ได้รับกระบวนการคิดจากกิจกรรมตาราง โดยทำให้เราได้รู้ว่าการคิดในเรื่องเดียวกันในลักษณะเดียวกัน อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปก็ได้ รวมไปถึงการนำเสนอของเพื่อนทำให้ได้รับรู้ความคิดของผู้เขียนบทความ และทำให้เราได้รู้อะไรมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้จากการศึกษาแบบโครงการมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก โดยใช้วิธีการที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง และสามารถใช้คณิตศาสตร์สอดแทรกไปในกิจกรรมต่างๆ ได้อีกด้วย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
          อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่ให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีเหตุผลเป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิดได้ดีมาก รวมไปถึงการสอดแทรกความรู้ต่างๆ นอกบทเรียนให้นักศึกษาอีกด้วย

ประเมินผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาถึงจะมีธุระแต่ก็ได้มอบหมายงานไว้ให้นักศึกษาได้ทำ อาจารย์สอนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศในห้องน่าเรียน และเต็มไปด้วยความอบอุ่น