ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันพุธ ที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บรรยากาศการเรียน
บรรยากาศในการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารยิ้มแย้มแจ่มใส นักศึกษามาพร้อมกันตรงเวลาและมีความพร้อมในการเรียนวิชาในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการคิดฝึกสมองเล็กๆน้อยๆ แล้วจึงเข้าสู่การเรียนการสอนซึ่งทั้งอาจารย์และนักศึกษาตั้งใจในการทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี
การเรียนการสอนในวันนี้
          1. ฝึกกระบวนการเรียนรู้
อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้แบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน แต่ละคนก็มีหลายหลายวิธีการที่แตกต่างกันไป ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาฝึกกระบวนการคิดว่าการพับกระดาษนั้นมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ และต่างคนต่างพับกระดาษฉีกกระดาษให้เป็นแนวตั้ง ต่อมาอาจารย์ให้เขียนชื่อจริงของแต่ละคนลงบนกระดาษโดยจัดเรียงให้ชื่อพอดีกึ่งกลางกระดาษและนำออกไปติดที่กระดานหน้าห้องและอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไรคือการประมาณ การจัดหน้ากระดาษให้พอดีและการแบ่งสัดส่วนของกระดาษให้เท่าๆ กัน ถือเป็นการฝึกกระบวนการคิดจากกระดาษเพียงแผ่นเดียว
*คณิตศาสตร์มีหลากหลายวิธีที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน*
*ต้องดูว่าจังหวะไหนควรทำตามความคิดสร้างสรรค์จังหวะไหนควรทำตามระเบียบวินัย*
            2. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ไพจิตร นำเสนอบทความเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ 
โดย : นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.
สรุปเนื้อหาได้ว่า คณิตศาสตร์นั้นทำให้เราสามารถเข้าใจธรรมชาติได้ การที่เด็กเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นั้นทำให้สนใจและอยากที่จะศึกษาในวิชาคณิตศาสตร์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง  ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน  สอนเนื้อหาใหม่  สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ  นำความรู้ไปใช้  วัดและประเมินผล โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
อ้างอิง : http://www.mycarrottz.blogspot.com/

ภาวิดา นำเสนอวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน 
โดยนางสาววันดี มั่นจงดี 
             โดยมีเนื้อหาดังนี้
งานวิจัย ครั้งนี้เป็นการทดลองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อนุบาล 1 โรงเรียน วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน

เครื่องมือ
     1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน
     2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การทดลอง
     การวิจัย ดำเดินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมการสานจัดอยู่ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เวลา 9.30 - 10.20

ขั้นตอน
     1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
     2. ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
     3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐาน
การทดลอง
การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย
    - สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ พอถึงสัปดาห์ที่ 2 เด็กเริ่มรู้และเข้าใจวิธีการสานมากยิ่งขึ้นและมีความสนใจในกิจกรรม
    - ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมากเด็กสามารถสานได้เด็กจะเกิดความภูมิใจกับผลงานและขอทำอีก
    - เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่เด็กไม่เคยสัมผัสมาก่อน
    - กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน
สรุป
     1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
     2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี
เรื่องที่ได้จากวิจัยนี้คือ การประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์ การดำเนินกิจกรรม การประเมินทักษะพัฒนาการด้านคณิตสาสตร์ ได้ความรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
อ้างอิง : http://babewdear.blogspot.com/ 

สิริกัลยา นำเสนอวีดีทัศน์เรื่อง กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

ผลิตโดย สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
บรรยายโดย : คุณครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์
กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน หรือ 6 กิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้
     กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ)
     กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์)
     กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์)
     กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี)
     กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง)
     กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) 
          กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ง่าย และเด็กจะชื่นชอบ เพราะเป็นสิ่งรอบตัวเด็ก 

  • กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  
  • กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์) พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ และชี้แนะแนวทางให้เด็กเล็กน้อย เน้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด
  • กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์) เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ เด็กจึงเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือการจัดลำดับใบไม้ 5 อันดับ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง และวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก
  • กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี) การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
  • กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง) เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ส้ม หมวก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
  • กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข
          ประโยชน์จากการทำกิจกรรมดังกล่าวทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้
          เทคนิคการสอน : ต้องดูที่ความต้องการของเด็ก เช่น เด็กชอบร้องเพลง เล่นเกม คำคล้องจอง สื่อต่างๆ การเรียนนอกห้อง เป็นต้น ก็จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องความต้องการของเด็ก และนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการในการเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความสุข สนุกสนาน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และได้ศึกษาธรรมชาติรอบตัวด้วย ที่สำคัญคือ ต้องเน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน อย่างสม่ำเสมอ ถ้าครูนำเสนอสิ่งที่เด็กพอใจ เด็กก็จะมีความสุข ถ้าเด็กมีความสุขก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น และเด็กก็จะไม่คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ยาก น่าเบื่อ ไม่เข้าใจอีกต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ขั้นต่อๆ ไป
อ้างอิง : http://psirikanlaya.blogspot.com/ 

            3. บทเรียน
เรื่อง เด็กเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
         ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  1. จำนวนและการดำเนินการ
  2. การวัด
  3. เรขาคณิต
  4. พีชคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็ก : ต้องรับรู้และเข้าใจสาระการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของแต่ละสาระการเรียนรู้
   1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
  • การรวมและการแยกกลุ่ม

*เด็กจะเรียนรู้ตามวิธีการเรียนรู้ของเขาและให้เหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กด้วย*      
   2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
เข้าใจเกี่ยวกับเวลา
   3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
รูปทรงเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   4. มีความรู้ความเข้าใจ รูปแบบของรุปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
   5. การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
   6. มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น 

ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
  1. ทักษะการฟังและวิเคราะห์ข้อมูล
  2. ทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์
  3. ทักษะการใช้ความคิด
  4. ทักษะการสรุปความรู้จากการฟัง
ความรู้ที่ได้รับ
           ได้รับความรู้ในเรื่องของคณิตศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ ได้รู้ถึงคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยว่าควรได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องอะไรบ้าง  รวมไปถึงสาระที่เด็กควรจะได้รับ และยังได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการนำเสนอของเพื่อน ทั้งบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน และสรุปวีดีทัศน์เรื่องการจัดกิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว ซึ่งมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในอนคตได้ เช่น การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากธรรมชาติรอบตัวก็เป็นง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้และทำให้เด็กสนุกสนานไปกับการเรียนรู้และชอบที่จะเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับวันนี้ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ และสามารถจัดการสอนให้ตรงกับสาระและมาตรฐานที่เด็กปฐมวัยควรได้รับอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการประยุกต์การสอนคณิตศาสตร์กับธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ และสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานและอิสระ ทำให้เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  1. การให้นักศึกษาคิดตีโจทย์ที่กำหนดให้
  2. การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
  3. การอธิบายให้เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
  4. การถามคำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินผู้สอน  

          อาจารย์มีเทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลายทำให้ไม่น่าเบื่อและยังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของความเป็นครูโดยให้รู้หน้าที่ถึงความเป็นครูอีกด้วย รวมไปถึงการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อาจารย์มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้บรรยากาศในห้องไม่เครียด และเหมาะสมต่อการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น