ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธ ที่ 27 มกราคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.


บรรยากาศการเรียน
          บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้มีความสุขดี มากันตรงเวลาพอดี อาจารย์และนักศึกษามีการเรียนการสอนที่เป็นกันเองและมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มต่อกัน ไม่เครียด

การเรียนการสอนในวันนี้
1. กิจกรรมฝึกกระบวนการคิด
อาจารย์แจกกระดาษแข็งให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แผ่นเล็กๆ ให้นักศึกษาทุกคนเขียนชื่อลงแผ่นกระดาษนั้น จากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนนำชื่อของตนเองไปติดไว้บนกระดานหน้าห้อง และได้ออกแบบตารางการเข้าเรียน คนที่มาให้ไปติดไว้ในช่องมาเรียน ส่วนคนที่ไม่มาให้ไปติดไว้ที่ช่องไม่มาเรียน 
ตารางนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ได้มากมาย อยู่ที่วัตถุประสงค์ของครูว่าต้องการจัดประสบการณ์ใดให้กับเด็ก ตัวอย่างเช่น 
  • สามารถเช็คได้ว่าใครมาเรียนหรือไม่มาเรียน 
  • เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการเรียงลำดับ 1,2,3.... 
  • การแบ่งจำนวนเช่น จำนวนนักเรียน 20 คน มา 18 คน ไม่มา 2 คน หรือ มา 19 คน ไม่มา 1 คน เป็นต้น
  • การนับจำนวนและสามารถบอกค่าได้
  • การแยกกลุ่มคนมาเรียนและไม่มาเรียน
  • การกำกับจำนวนโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับการมาก่อนมาหลัง
  • คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น เลขหนึ่ง เลขสอง เป็นต้น
  • การเปรียบเทียบ
  • พื้นฐานการลบ 
จากนั้นอาจารย์ยังสอนอีกว่าการทำตารางการมาเรียนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบการออกแบบสื่อนั้นต้องดูจุดประสงค์ก่อนว่าจะสอนเกี่ยวกับอะไร และต้องใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด

2.การนำเสนอของเพื่อนทั้งบทความ วิจัย และวีดีโอ 
บทความเรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกในวัยอนุบาล
สรุปได้ว่า การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กนั้นต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยว่าควรจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างไร โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้
  1. ใช้สัญลักษณ์รูปภาพแทนจำนวน เช่น ใช้ภาพแอปเปิ้ลสองผลแทนจำนวนเลข 2 เป็นต้น
  2. ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้โดยเน้นมือกับตาเป็นหลักและให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
  3. การใช้ภาษา คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น การเพิ่ม การลด เป็นต้น
พ่อแม่ต้องเข้าใจกระบวนการพัฒนาการของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ตรงจุด

วิจัยเรื่อง การศึกษาพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
สรุปได้ว่า เด็กชอบการลงมือทำด้วยตนเองอยู่แล้ว และยิ่งเป็นการจัดประสบการณ์ Cooking ที่เด็กได้ลงมือทำเองเด็กยิ่งชอบ และสนใจในการทำ การทำอาหารในวิจัยครั้งนี้คณิตศาสตร์ที่เด็กได้เรียนรู้คือ การวัด การตวง การประมาณ ส่วนผสมของการทำอาหาร ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และมีทัศนคติที่ดีกับคณิตศาสตร์ไปด้วย

วีดีโอเรื่อง การสอนคณิตสาสตร์ด้วยนิทาน
สรุปได้ว่า กิจกรรมในครั้งนี้มุ่งหวังให้เด็กนั้นมีเจตคติที่ดีกับวิชาคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป โดยการใช้นิทาน เพลง มาเป็นตัวช่วย เพราะเด็กกับนิทานนั้นเป็นของคู่กันอยู่แล้ว เราเพียงสอดแทรกความรู้เข้าไปให้เด็กเท่านั้นเอง โดยการปลูกฝังด้วยทิทานนั้นจะทำให้เด็กชื่นชอบและสนุกไปกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกด้วย

3. การเรียนวิชาการ 
เพลงคณิตศาสตร์
เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า           อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว                        หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่                 ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก                       หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน                  ยามเช้าเรามาโรงเรียน 
หนูจะพากเพียรอ่านเขียนเอย            หนูจะพากเพียรอ่านเขียน

เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน             อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว              อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน            เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน           เข้าแถวพลันว่องไว

เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง             แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า             แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลงขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
.
.
.
ลดลงไปเรื่อยๆ
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง
เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นมีประโยขน์ในการทำกิจกรรมเพื่อเรียกความสนใจจากเด็กเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นเพลงง่ายๆ และเป็นการสอดแทรกกิจกรรมประจำวันลงไปในเพลงเพื่อการสอนในน่วยต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์





คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ

มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
  • คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
  • ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • การวัดเรื่องเวลา
แต่งประโยคจากคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
(เวลา,การคิดอย่างมีเหตุผล) 
          เช่น ถ้าตั้งใจเรียนก็จะสอบได้
(การจัดประเภทการจับคู่และการตัดสินใจ) 
          เช่น ฉันเห็นว่ากางเกงตัวนี้เหมาะกับเสื้อของฉัน ฉันจึงตัดสินใจซื้อ
(การคาดคะเนปริมาณ,การเปรียบเทียบ) 
          เช่น เพื่อนคนนี้อ้วนกว่าเพื่อนคนนั้น
แสดงให้เห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา อยู่รอบๆตัวเราทั้งสิ้น

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  • เข้าใจฟังความหลากหลายของการแสดงจำนวนและใช้จำนวนในชีวิตจริง
  • (รับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม บางอย่างนำมาไม่ได้ก็ต้องเป็นสื่อ)
  • จำนวน
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
  • การใช้สัญลักษณ์รูปภาพแทนจำนวนตัวเลข

การรวมการแยกกลุ่ม
  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10 คน

สาระที่ 2 การวัด
  • เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงินและเวลา
  • เงิน (ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร)
  • เวลา (ช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกรับ

สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
  • รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเลขาคณิตที่เกิดขึ้นจากการจัดทำ
  • ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
  • การบอกทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
  1. ทักษะการออกแบบ
  2. ทักษะกระบวนการคิดแบบมีเหตุผล
  3. ทักษะการเรียนรู้
  4. ทักษะการฟังและสรุป
  5. ทักษะการแต่งประโยค์จากคำที่กำหนด 
  6. ทักษะการร้องเพลง

ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้และทักษะกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในเรื่องการออกแบบสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นแล้วสามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมไปถึงเทคนิคการออกแบบสื่อโดยเราต้องรู้ก่อนว่าวัตถุประสงค์สื่อชิ้นนั้นต้องการจะสอนอะไรกับเด็กและยังรวมไปถึงได้เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อนำไปใช้สอนเด็กในหน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายคือการได้รับความรู้ เรื่อง สาระสำคัญต่างๆเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิตเป็นต้น 


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับวันนี้ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์สื่อตารางการมาเรียนของเด็กในรูปแบบต่างๆ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การประดิษฐ์ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดรวมไปถึงเราสามารถนำเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไปใช้สอนเด็กๆในหน่วยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เพื่อเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและสนใจที่จะเรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้ต่างๆเป็นเกณฑ์เพื่อใช้สอนและใช้วัดเด็กได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดอย่างมีเหตุผลสอนด้วยวิธีการที่ทำให้นักศึกษาเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายรวมไปถึงการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาอีกด้วยและการใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนเพื่อความเข้าใจได้ง่าย 

ประเมินผู้สอน
อาจารย์ผู้สอนมีความตั้งใจในการสอน และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนแบบยกตัวอย่างจึงทำให้เข้าใจได้ง่าย พร้อมทั้งยกคุณธรรม จริยธรรมในการสอนเรื่องความประหยัดอีกด้วย



วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันพุธ ที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บรรยากาศการเรียน
บรรยากาศในการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารยิ้มแย้มแจ่มใส นักศึกษามาพร้อมกันตรงเวลาและมีความพร้อมในการเรียนวิชาในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการคิดฝึกสมองเล็กๆน้อยๆ แล้วจึงเข้าสู่การเรียนการสอนซึ่งทั้งอาจารย์และนักศึกษาตั้งใจในการทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี
การเรียนการสอนในวันนี้
          1. ฝึกกระบวนการเรียนรู้
อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้แบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน แต่ละคนก็มีหลายหลายวิธีการที่แตกต่างกันไป ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาฝึกกระบวนการคิดว่าการพับกระดาษนั้นมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ และต่างคนต่างพับกระดาษฉีกกระดาษให้เป็นแนวตั้ง ต่อมาอาจารย์ให้เขียนชื่อจริงของแต่ละคนลงบนกระดาษโดยจัดเรียงให้ชื่อพอดีกึ่งกลางกระดาษและนำออกไปติดที่กระดานหน้าห้องและอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไรคือการประมาณ การจัดหน้ากระดาษให้พอดีและการแบ่งสัดส่วนของกระดาษให้เท่าๆ กัน ถือเป็นการฝึกกระบวนการคิดจากกระดาษเพียงแผ่นเดียว
*คณิตศาสตร์มีหลากหลายวิธีที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน*
*ต้องดูว่าจังหวะไหนควรทำตามความคิดสร้างสรรค์จังหวะไหนควรทำตามระเบียบวินัย*
            2. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ไพจิตร นำเสนอบทความเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ 
โดย : นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.
สรุปเนื้อหาได้ว่า คณิตศาสตร์นั้นทำให้เราสามารถเข้าใจธรรมชาติได้ การที่เด็กเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นั้นทำให้สนใจและอยากที่จะศึกษาในวิชาคณิตศาสตร์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง  ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน  สอนเนื้อหาใหม่  สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ  นำความรู้ไปใช้  วัดและประเมินผล โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
อ้างอิง : http://www.mycarrottz.blogspot.com/

ภาวิดา นำเสนอวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน 
โดยนางสาววันดี มั่นจงดี 
             โดยมีเนื้อหาดังนี้
งานวิจัย ครั้งนี้เป็นการทดลองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อนุบาล 1 โรงเรียน วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน

เครื่องมือ
     1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน
     2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การทดลอง
     การวิจัย ดำเดินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมการสานจัดอยู่ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เวลา 9.30 - 10.20

ขั้นตอน
     1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
     2. ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
     3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐาน
การทดลอง
การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย
    - สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ พอถึงสัปดาห์ที่ 2 เด็กเริ่มรู้และเข้าใจวิธีการสานมากยิ่งขึ้นและมีความสนใจในกิจกรรม
    - ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมากเด็กสามารถสานได้เด็กจะเกิดความภูมิใจกับผลงานและขอทำอีก
    - เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่เด็กไม่เคยสัมผัสมาก่อน
    - กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน
สรุป
     1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
     2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี
เรื่องที่ได้จากวิจัยนี้คือ การประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์ การดำเนินกิจกรรม การประเมินทักษะพัฒนาการด้านคณิตสาสตร์ ได้ความรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
อ้างอิง : http://babewdear.blogspot.com/ 

สิริกัลยา นำเสนอวีดีทัศน์เรื่อง กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

ผลิตโดย สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
บรรยายโดย : คุณครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์
กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน หรือ 6 กิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้
     กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ)
     กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์)
     กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์)
     กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี)
     กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง)
     กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) 
          กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ง่าย และเด็กจะชื่นชอบ เพราะเป็นสิ่งรอบตัวเด็ก 

  • กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  
  • กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์) พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ และชี้แนะแนวทางให้เด็กเล็กน้อย เน้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด
  • กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์) เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ เด็กจึงเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือการจัดลำดับใบไม้ 5 อันดับ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง และวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก
  • กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี) การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
  • กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง) เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ส้ม หมวก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
  • กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข
          ประโยชน์จากการทำกิจกรรมดังกล่าวทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้
          เทคนิคการสอน : ต้องดูที่ความต้องการของเด็ก เช่น เด็กชอบร้องเพลง เล่นเกม คำคล้องจอง สื่อต่างๆ การเรียนนอกห้อง เป็นต้น ก็จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องความต้องการของเด็ก และนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการในการเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความสุข สนุกสนาน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และได้ศึกษาธรรมชาติรอบตัวด้วย ที่สำคัญคือ ต้องเน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน อย่างสม่ำเสมอ ถ้าครูนำเสนอสิ่งที่เด็กพอใจ เด็กก็จะมีความสุข ถ้าเด็กมีความสุขก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น และเด็กก็จะไม่คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ยาก น่าเบื่อ ไม่เข้าใจอีกต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ขั้นต่อๆ ไป
อ้างอิง : http://psirikanlaya.blogspot.com/ 

            3. บทเรียน
เรื่อง เด็กเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
         ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  1. จำนวนและการดำเนินการ
  2. การวัด
  3. เรขาคณิต
  4. พีชคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็ก : ต้องรับรู้และเข้าใจสาระการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของแต่ละสาระการเรียนรู้
   1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
  • การรวมและการแยกกลุ่ม

*เด็กจะเรียนรู้ตามวิธีการเรียนรู้ของเขาและให้เหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กด้วย*      
   2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
เข้าใจเกี่ยวกับเวลา
   3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
รูปทรงเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   4. มีความรู้ความเข้าใจ รูปแบบของรุปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
   5. การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
   6. มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น 

ทักษะที่ได้รับในการเรียนรู้
  1. ทักษะการฟังและวิเคราะห์ข้อมูล
  2. ทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์
  3. ทักษะการใช้ความคิด
  4. ทักษะการสรุปความรู้จากการฟัง
ความรู้ที่ได้รับ
           ได้รับความรู้ในเรื่องของคณิตศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ ได้รู้ถึงคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยว่าควรได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องอะไรบ้าง  รวมไปถึงสาระที่เด็กควรจะได้รับ และยังได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการนำเสนอของเพื่อน ทั้งบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน และสรุปวีดีทัศน์เรื่องการจัดกิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว ซึ่งมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในอนคตได้ เช่น การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากธรรมชาติรอบตัวก็เป็นง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้และทำให้เด็กสนุกสนานไปกับการเรียนรู้และชอบที่จะเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับวันนี้ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ และสามารถจัดการสอนให้ตรงกับสาระและมาตรฐานที่เด็กปฐมวัยควรได้รับอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการประยุกต์การสอนคณิตศาสตร์กับธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ และสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานและอิสระ ทำให้เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  1. การให้นักศึกษาคิดตีโจทย์ที่กำหนดให้
  2. การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
  3. การอธิบายให้เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
  4. การถามคำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินผู้สอน  

          อาจารย์มีเทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลายทำให้ไม่น่าเบื่อและยังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของความเป็นครูโดยให้รู้หน้าที่ถึงความเป็นครูอีกด้วย รวมไปถึงการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อาจารย์มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้บรรยากาศในห้องไม่เครียด และเหมาะสมต่อการเรียนรู้


วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559


สรุปงานวิจัย 
เรื่อง การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(The Development of Packages on Basic-Mathematical Skills for Early Childhood Children through Peer Tutoring Method)
โดย ชลนันต์ จันทร์สด
ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน


วัตถุประสงค์ 
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการพัฒนาด้วยชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ที่มาและความสำคัญ
           คณิตศาสตร์เป็นสาระการเรียนรู้ที่ยากเพราะคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับนามธรรม ยากแก่การอธิบายและยกตัวอย่างไม่ชัดเจนทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดมุ่งหมายและมีปัญหามากที่สุดสำหรับผู้เรียนที่เรียนในระดับสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้
ชุดฝึกเสริมทักษะจึงเป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้ส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนได้ ผู้วิจัย
จึงมีความสนใจที่พัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อนอันจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยต่อไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
          นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 2 โรงเรียนบ้านหนองคู (โสภณประชานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 34 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1. ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
          2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          3. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
การทดลอง
          ชุดฝึกทักษะทั้งหมด 3 ชุด แต่ละชุดจะแตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นเป็นเด็กปฐมวัยจะมีความอดทนมากสุดเพียง 20 นาที ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อนจึงแบ่งช่วงของการทดลองออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 10 นาที ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เด็กทำในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้วิจัยจะบันทึกทุกครั้งที่ทำวิจัย
สรุปผลการวิจัย
          1. ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
มีประสิทธิภาพ 88.10/87.06 แสดงว่าชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
          2. คะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการพัฒนาด้วยการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สูงกว่าคะแนนก่อนการพัฒนาด้วย
การใช้ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบเพื่อนช่วยเพื่อนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01





สรุปบทความ
เรื่อง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูก 

           การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูก พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และสนับสนุน เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นแรงขับสำคัญในการเรียน ถ้าเด็กมีความกังวล และขาดความเชื่อมั่นในวิชาคณิตศาสตร์ ก็จะส่งผลต่อผลการเรียน และการผลการทดสอบในวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย พ่อแม่บางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆ กับการที่ลูกขาดความมั่นใจในวิชาคณิตศาสตร์ เพราะอาจจะคิดว่าก็แค่การที่ลูกไม่ชอบเรียนในวิชาหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะว่า ความเชื่อมั่นในวิชาคณิตศาสตร์ จะเป็นตัวบั่นทอนความมั่นใจในตัวลูกของเราไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น เด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเองไปในที่สุดบทบาทของพ่อแม่ที่เหมาะสมที่สุดในการสนับสนุนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูกคือ การเสริมความมั่นใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูกให้คุณพ่อคุณแม่นึกในใจเสมอว่า "ความมั่นใจ" เป็นปัจจัยสำคัญมากๆ ในการเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี ปัจจัยที่จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงอนุบาล 3 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 2 คือ การที่เด็กคำนวณช้า หรือคำนวณผิด ถ้าลูกของเราบวก ลบ เลขได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ บอกคำตอบช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ เขาก็จะเสียความมั่นใจไปเรื่อยๆ ดังนั้นการเสริมความมั่นใจให้กับเด็กในวัยนี้ที่ดีที่สุด คือ การซื้อแบบฝึกหัดทักษะการคำนวณ มาให้ลูกได้ฝึกทำอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าลูกของเราบวก ลบ หรือคำนวณได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เขาก็จะมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น

ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่
     1. คอยดูแบบฝึกหัด หรือการบ้านคณิตศาสตร์ของลูกเรา
     2. จัดสรรเวลาให้ลูกได้ฝึกทำแบบฝึกหัดประเภทโจทย์ปัญหาในระดับที่เหมาะสมกับศักยภาพของเขา
     3. ควรจัดสรรเวลา ควบคู่ไปกับเวลาเล่นของลูกครับ เช่น ถ้าทำเสร็จ 10 ข้อ แล้วค่อยไปเล่น
     4. ควรถามให้ลูกเราอธิบายข้อที่เขาทำได้ถูก และชื่นชมเขา
     5. ถ้าเราทราบว่าลูกเราชอบทำผิดในส่วนไหนซ้ำๆ ให้เราใช้ปากกาวง หรือชี้จุดที่ควรระวังให้ลูกเรา ก่อนที่จะให้เขาทำ
     6. ย้ำกับลูกเสมอว่า ให้อ่านโจทย์ดีๆ ว่า โจทย์ให้ข้อมูลอะไรมา ให้ความสัมพันธ์ หรือเงื่อนไขอะไรมา และสุดท้ายต้อง            ย้ำให้ลูกเราเตือนตัวเองเสมอว่า ให้อ่านให้รอบคอบว่าโจทย์ถามอะไร
     7. การปลูกฝัง ให้ลูกเรียนหนังสือกับเพื่อน ช่วยติวให้เพื่อน นั่งทำแบบฝึกหัดกับเพื่อน
     8. ถ้าลูกเราอยู่ในระดับ ป.3 ขึ้นไปแล้ว ไม่ควรให้ลูกเราฝึกทำแต่แบบฝึกหัดฝึกทักษะคำนวณ เพราะเด็กจะรู้สึกเบื่อหน่าย
     9. วิธีที่ทำให้เด็กสนุก และเข้าใจกับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด คือ การใช้ภาพในการตีความโจทย์
     10. เปิดโอกาสให้ลูกได้ไปสอบแข่งขันบ้าง

สรุป 
สิ่งที่สำคัญในการทำให้ลูกเราเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ  อันดับแรกคือความมั่นใจของลูก ส่วนอันดับที่สอง คือการฝึกทบทวนกับเพื่อนๆ และอันดับที่ 3 คือการฝึกทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย มีการจัดสรรเวลาที่ดี กับเวลาเล่น หรือเวลานันทนาการ พ่อแม่คือส่วนสำคัญของลูกที่จะพัฒนาความมั่นใจ และความชอบในการเรียนคณิตศาสตร์ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดที่สุด

อ้างอิงบทความ
https://www.facebook.com/education.facet/photos/a.647133688691903.1073741828.647067172031888/704644656274139/?type=3&__mref=message_bubble





สรุปวีดีโอสื่อการสอน
เรื่อง เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม

          เทคนิคการแก้ปัญหาการลบเลขแบบไม่ต้องยืม โดย ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เห็นว่าวิธีการลบเลขแบบที่เราเคยเรียนมา นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหา เมื่อเวลาที่ต้องลบเลขแบบตัวตั้งบางตัว เป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวที่นำมาลบ เพราะนักเรียนต้องใช้วิธีการยืม เมื่อต้องยืมตัวเลขไปมาก็อาจจะทำให้ลืมที่จะต้องยืมได้ ค่าหรือคำตอบที่ได้ก็จะผิดพลาด เมื่อเด็กคิดผิดเด็กก็จะไม่อยากเรียน ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ไปในที่สุด แต่หากเป็นตัวตั้งที่มากกว่าก็ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น อ.ชัยศักดิ์จึงได้คิดค้นวิธีการลบเลขแบบใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และไม่ยุ่งยากในการลบเลข โดยได้ถ่ายทอดเทคนิคนี้ให้กับครูอีก 3 ท่านไปใช้อีกด้วยเป็นการสอนคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียน สามารถคิดเลขได้ดี การลบเลขของนักเรียนนั้นส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียนที่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ มีความชอบและความเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้อยากเรียน และมีกำลังใจในการเรียนรู้วิชาคณิศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้คุณครูทั้งหลายได้มีวิธีการสอนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ถ้าเข้าใจ สนุก นักเรียนก็จะมีความสุขและรักการเรียนมากขึ้น 

ตัวอย่าง 

ซึ่งวิธีการนี้อาจจะทำให้เด็กยืมและลืม สับสนว่าเลขใดเป็นเลขใด หากคิดเลขผิดไปหนึ่งตัวก็จะทำให้คำตอบผิดไปได้ ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ จึงคิดวิธีการลบเลขโดยไม่ต้องยืม โดยมีวิธีการดังนี้ วิธีการก็คือ เปลี่ยนตัวเลขตัวตั้งที่น้อยกว่าตัวลบให้เป็นเลขฐานสิบที่มากที่สุดคือเลข 9 และตัวตั้งที่มากกว่าอยู่แล้วให้ลบออกไป 1 ตัวอย่างเช่น


 ซึ่ง 4,204 ยังไม่ใช่คำตอบของโจทย์นี้เพราะตั้งตั้งได้เปลี่ยนไป วิธีการต่อมาคือ การนำคำตอบ แล้วตัวเลขที่ถูกเปลี่ยนจากโจทย์คือ 204 มาบวกกับ 1 อีก ซึ่ง 1 คือตัวเลขที่ถูกลบจากตัวตั้งที่มากกว่า

เพียงเท่านี้เราก็จะได้คำตอบของโจทย์นี้ โดยไม่ต้องใช้การขอยืม ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนคณิตศาสตร์และเข้าใจได้ง่ายขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีสมองช้าและสมองปานกลาง

**ครูมีหน้าที่แก้ปัญหาไม่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ก็ตาม**

อ้างอิงวีดีโอ : http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=1658